วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การแข่งขัน ของExness

การแข่งขัน ของExness


รางวัลที่ 1 - 500 USD (250 USD + 250 USD โบนัส ) = 500x32 =16,000บ.
รางวัลที่ 2 - 300 USD โบนัส = 300x32 =9,600บ.
รางวัลที่ 3 - 200 USD โบนัส = 200x32 =6,400บ.
รางวัลที่ 4 - 100 USD โบนัส = 100x32 =3,200บ.
รางวัลที่ 5 - 100 USD โบนัส = 100x32 =3,200บ.
(สมัครเล่นฟรี) รีบสมัครรีบเล่นกันนะครับ





วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Average Directional Index (ADX) ใช้ง่าย+ความแม่นยำสูง


Average Directional Index (ADX)
            Directional Movement เป็น Indicator ที่มีความแม่นยำสูงในการวิเคราะห์หุ้นระยะกลาง คิดค้นขึ้นโดย J. Well Wilder ซึ่งได้อธิบายไว้ในหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า “New Concept in Technical Trading Systems” สำหรับสูตรในการคำนวณนั้นขอไม่อธิบายเนื่องจากมีความซับซ้อนและอาจยากต่อการเข้าใจสำหรับนักลงทุน จึงขออธิบายเฉพาะการตีความหมายและการนำไปประยุกต์ใช้เท่านั้น
ซึ่งจะแบ่งได้ 2 แบบ ได้แก่
1.Trend Strength identification (ยืนยันการเกิด Trend และ ความแข็งแกร่งของ Trend)
      a. หาก ADX > 20 แปลว่า เกิด Trend และมีความแข็งแกร่งไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง
      b. หาก ADX < 20 แปลว่า ไม่เกิด Trend คือ เคลื่อนที่แบบ Sideway หรือ Trend ยังอ่อนแอ

2. Entry & Exit by DI Crossover (บอกจุดซื้อขายด้วย DI)
DI+ ตัด DI -ขึ้นไป นั่นแสดงว่ากราฟกำลังจะขึ้น แต่เราต้องดูเส้น adx ด้วย เส้น ADX ต้องอยู่เหนือ Level 20-25 จึงจะเป็นสัญญาณ Buy ที่ดี
     ซื้อเมื่อ +DI (สีเขียว) ตัดขึ้นเหนือ –DI (สีแดง)
DI- ตัด DI + ขึ้นไป แสดงว่ากราฟกำลังจะลง แต่เราก็ต้องดูสัญญาณยืนยันจากเส้น ADX ด้วย ต้องอยู่เหนือ Level 20-25 จึงจะเป็นสัญญาณ Sell ที่ดี
     ขายเมื่อ +DI (สีเขียว) ตัดลงใต้ –DI (สีแดง)

การแสดงผล ADX ใน Efin Smart Portal [ มี 3 เส้น ADX(เหลือง), +DI(เขียว), -DI(แดง)]

ถ้า Indicator ตัวนี้อยู่ที่ระดับ 0-25 มันจะแสดงสภาวะตลาด Sideway คือมีทิศทางที่ไม่แน่นอน ADX เป็น  Trend Indicator ที่บอกแนวโน้ม ไม่เหมาะกับการเล่น Sideway ต้องเล่นตามเทรนอย่างเดียว 

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การตัังค่าใน MT4 Exness ง่าย
1.เข้าโปรแกรม MT4
2.คลิ๊กขวาที่สกุลเงินที่จะเทรด เลือก Chat Window


จะได้กราฟข้อสกุลเงินนั้นๆ


3.เปิด Template ADX


จะได้


4.ตั้งค่า ADX ให้ดูง่ายและได้ประสิทธิภาพ
4.1คลิ๊กพื้นที่ว่างในกราฟแล้วไปคลิ๊กที่ Properties 


4.2 จะมีหน้าต่างขึ้นมา แล้วเลือก Comman


4.3ให้เลือกเหมือนในรูป แล้วกด OK


จะได้


4.4เพิ่มเส้นบอกขนาดโดยคลิ๊กขวาที่พื้นที่ว่าง แล้วไปที่ Indicator List 


จะขึ้น แล้วดับเบิ้ลคลิ๊กตามภาพ


ทำการเปลี่ยนสีจากสีน้ำตาลเป็นสีเหลือง


คลิ๊กที่ Levels


คลิ๊กที่ Add


พิมพ์แก้จาก 0.0 เป็น 20 และแก้จากเส้นปะ ให้เป็นเส้นเต็ม
 

คลิ๊ก OK

คลิ๊ก Close


จะได้ ADX ที่ดูง่ายขึ้น

นอกจากนี้เราสามารถใช้ Indicator อื่นที่เราชอบในการช่วยดูเสริม เช่น "Stochastic Oscillator" "MACD" เป็นต้น














วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โบลิงเจอร์ แบนด์


โบลิงเจอร์ แบนด์

      ในการใช้ โบลิงเจอร์แบนด์ ให้ใช้คู่กับแท่งเทียนและตั้งค่าไว้ที่ 20 โบลิงเจอร์แบนด์ประกอบด้วยเส้นสามเส้นได้แก่ เส้นโบลิงเจอร์แบนด์บน เส้นโบลิงเจอร์แบนด์กลาง และเส้นโบลิงเจอร์แบนด์ล่าง เส้นโบลิงเจอร์แบนด์กลางคือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ธรรมดา ขณะที่เส้นโบลิงเจอร์แบนด์บน และล่างเป็นตัวชี้การเบี่ยงเบน กล่าวโดยสรุปคือ โบลิงเจอร์แบนด์ เอาไว้ใช้ดูเทรนและการกลับตัว ด้านล่างเป็นตัวอย่างค่า โบลิงเจอร์แบนด์ ที่ตั้งไว้ที่ 20 และค่าการเบี่ยงเบนที่ 2







มือใหม่..อยากเล่นหุ้น ทำตามขั้นตอนนี้


ขั้นตอนในการเริ่มเล่น FOREX
1. ต้องรู้จักว่า FOREX คืออะไร ดีกว่าการเล่นหุ้นอย่าไร คลิ๊กดูที่นี่

2.ขั้นตอนสมัคร Exness



--4.5ระบบการเทรดที่น่าสนใจ


4 Hour Strategy (MACD)


ระบบเทรด 4 Hour Strategy (MACD) ระบบนี้เป็นระบบหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เทรดเดอร์หลายคนคงรู้จัก ระบบเทรดนี้เป็นของ ท่าน Phillip Nel ซึ่งเขาได้ศึกษาฟอเร็กมาเป็นระยะเวลามากกว่าสิบปี และทดลองระบบนี้มากว่า 2 ปี ผลการทดสอบมากกว่า 200 ครั้ง สามารถทำกำไรได้มากกว่าเดือนละ 300 จุด ไม่เคยเสียติดต่อกันถึงสองครั้ง และไม่เคยใช้สต๊อบลอสมากกว่า 50จุด
ระบบเทรดนี้ เขาแนะนำให้ใช้แค่สองคู่เงินเท่านั้น คือ EUR/USD และ GBP/USD ใช้กับ Time Frame 4 H
ระบบนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง
- Moving Average
1. 365 Exponential Moving Average (365EMA)
2. 200 Simple Moving Average (200SMA)
3. 89 Simple Moving Average (89SMA)
4. 21 Exponential Moving Average (21EMA)
5. 8 Exponential Moving Average (8EMA)
ปรับสีได้ตามใจชอบ


- MACD ตั้งค่าที่ 5 - 13 - 1

1. Fast EMA 5
2. Slow EMA 13
3. MACD EMA 1

-Horizontal Lines: เพิ่ม Level ใน MACD
1. Level +0.0015
2. Level +0.0030
3. Level +0.0045
4. Level –0.0015
5. Level –0.0030
6. Level –0.0045


4H MACD PRICE MOVEMENT RULES

1. ในการดูราคาในจุดที่จะ trade ควรดูสิ่งนี้ควบคู่กันด้วย (ทุกครั้ง )
1.1 Moving Average, Trend line, แนวรับ แนวต้าน และตัวเลขจิตวิทยา (พวกเลข 00, 200.00, 1.50, 100.00)
1.2 แล้วมาดู MACD signal เพื่อเป็นการ confirm ในการเทรด

2. ทำการบ้านเยอะๆ เกี่ยวกับ price movement หรือ Market rhythm เช่น print graph 4hr ย้อนหลัง 1 ปีมานั่งปิดแล้วดูแล้ววิเคราะห์แท่งเทียนถัดไป

3. ห้ามเทรด MACD ทุก Signal

4. อย่ากระโดดเล่นหลายคู่
4.1 ควรเล่นไม่เกิน 3 pair (ทุกวันนี้ผมยังคงเล่นแค่ 2 pair) และเล่น pair ที่ชอบและคุ้นเคยกับเรา ถ้าเราเล่นหลาย pair เราจะเสียโอกาสในการเปิด position เดิมที่ควรจะได้ คือถ้าเล่นเยอะ % ที่จะถูกมันก็น้อยลง การเล่นมันย่อมมีผิดพลาด ถ้าเราผิดตัวนี้แล้วเราไปเล่นตัวอื่น เราก็จะพลาดตัวอื่นต่อ ในขณะที่รอบหน้าของตัวแรกที่พลาดอาจจะถูก แต่เราไม่ได้เทรดมัน เทรด 10 ครั้งควรจะถูก 6-7 ครั้งแต่ถ้าเราโดดไปตัวอื่น ทีนี้เราก็จะไม่ได้ 10:6 หรือ 10:7 แล้ว

5. ดูที่อารมณ์ตลาด(Market emotion) – รูปแบบที่แน่นอนของแท่งเทียน
6. ดูจังหวะตลาด(Market Rhythm) และ trend line
7. R:R (Risk reward ratio) ควรเป็น 1:1 ขึ้นไป เช่น Reward 50 Stoploss ไม่เกิน 50

8. เมื่อราคาผ่านเส้น 89SMA มันจะกลับมาหาเส้น 21EMA
8.1 เมื่อราคาวิ่งทะลุ 89SMA แล้วเส้น 21EMA อยู่ข้างบน 89 ราคาจะวิ่งกลับมาหาเส้น 21EMA
8.2 ถ้าไม่กลับไปหาเส้น 21EMA มันจะวิ่งกลับหา 89SMA หรือ 8EMA แทน ก่อนที่มันจะวิ่งต่อไป

9. เมื่อราคาวิ่งทะลุผ่านเส้น 200SMA มันจะวิ่งกลับหาตัวมันเอง (200SMA) ก่อนที่จะวิ่งต่อไป

10. เมื่อราคาวิ่งทะลุผ่านเส้น 21EMA แล้วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้น 21EMA อีกทีก่อนที่จะวิ่งไปหาเส้น 8EMA หรือ89SMA

เสริมนะครับ(26 กรกฎาคม 2553)
ระบบนี้จะใช้ได้ดีต้องใช้ MACD ในการดูประกอบเพื่อหาจังหวะเข้าออเดอร์นั้น ต้องดูรูปแบบของ MACD (Pattern MACD) นะครับ รูปแบบของ MACD มีดังนี้ครับ
1.RT-Round
2.RB-Round Bottom
3.AT-Aggressiav Turnaround
4.TC-Trend Continuous Pattern
5.ZB-Zero Break
6.BOZ-Bounce Off Zero
7.H&S-Head And Shoulder
8.LH-Lower High
9.HL-Higher Low
10.DT-Double Top
11.DB-Double Bottom
ดูรูปด้านล่างเลยนะครับ


จากรูปด้านบนเราจะเห็นลักษณะต่างๆของ MACD หรือเราอาจจะเรียกว่าตัวสัญญาณก็ได้ จะมีจุดวงกลมเล็กๆ ที่ Bar ของ MACD นั่นแหระครับ เป็นสัญญาณเข้า

DOWNLOAD
ในโฟลเดอร์นี้จะมีทั้งหมด 4 ไฟล์ เป็นไฟล์ ให้นำไฟล์ที่ชื่อ 4H_MACD_FX_Strategy.mq4 และ MACD_color_V103.mq4ไปใส่ไว้ใน My COmputer >>DIsk C>>Programfiles>>>Instatrader(ขึ้นอยู่กับว่าคุณเลือกใช้โปรแกรมเทรด Mt4 ของโบรกไหน )>>>Experts>>>Indicators แล้วก็ วาง สองไฟล์นี้ ลงไปครับ จากนั้นให้ปิดโปรแกรมเทรดเอ็มทีโฟ แล้วเปิดใหม่อีกที
เมื่อเปิดขึ้นมาแล้วไปที่ Insert >>Indicators >>Custom >>> แล้วก็เลือกไฟล์ 4H_MACD_FX_Strategy.mq4 และ MACD_color_V103.mq4 ขึ้นมาครับ



วิธีลง EA และวิธี Backtest (EA) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพก่อนใช้งานจริง




การติดตั้ง Expert Advisor (EA) เพื่อให้อีเอซื้อขายให้อัตโนมัติ

ตัวอย่างการติดตั้ง EA ลง Broker

Copy EA ลงใน Foder

C: \ Program Files \ MetaTrader - EXNESS (อันนี้แล้วแต่โบรกเกอร์) \ experts \ EA Onlinemoneythai.mp4(อีเอีของเรา)

-เปิดโปรแกรมเทรด MetaTrader 4 ขึ้นมา
-ให้ เปิด Navigator
-ดับเบิ้ลคลิ๊ก เลือก EA ที่จะติดตั้ง




วิธีการปิดการทำงานของ EA


-การทำงานของอีเอ ก็จะเริ่มทำงานตั้งแต่เราเริ่มเปิดรันจนกว่าเราจะปิดการรัน
-ถ้าเราปล่อยให้ทำงานในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเวลาปิดเครื่อง อีเอก็หยุดทำงานด้วย แต่เราปล่อยรันใน vps server จะรันตลอดเวลาซึ่งก็ทำให้เกิดกำไร และขาดทุนได้ตลอดเวลานั่นเอง


-------------------------------------------------------------------------------
ในการใช้งาน Expert Advisors สิ่งที่ต้องให้ความสนใจและต้องทำทุกครั้งคือ

1)ทำการศึกษา EAนั้นๆ ว่ามีหลักการทำงานอย่งไร มีเงื่อนไขในการเข้าเทรดอย่างไร

2)เหมาะสมกับ Margin ที่เรามีอยู่หรือไม่ TP? SL? % เทรดเป็นอย่างไร

3) มีระบบการจัดการ Money Managenet ที่ดีหรือไม่ หรือเพียงพอกับความต้องการของเราหรือไม่

4)ควรทำ Back Test หลายๆครั้ง หลายๆ เงื่อนไขจนได้ ผลที่น่าพอใจ

5)Optimization หาจุดที่ดีที่สุดของการ Set ค่าของ EA

6)เมื่อทำทุกข้อแล้วและได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจก็ลงมือได้เลยครับ

--------------------------------------------------------------------------------

ขั้นตอนการเริ่มต้นทำ Backtest ระบบเทรดอัตโนมัติ Expert Advisor (EA)

1.เมื่อเราได้รับไฟล์ EA มาจากแหล่งต่าง ๆแล้วให้เรานำไฟล์ EA ที่ได้มาไปเก็บไว้ที่

C: \ Program Files \ MetaTrader - EXNESS (อันนี้แล้วแต่โบรกเกอร์) \ experts \ EA Onlinemoneythai.mp4(อีเอีของเรา)
2. หลังจากที่เรานำ EA เข้าสู่ Program MT4 เป็นที่เรียบร้อยแล้วให้ เปิด Navigator ดังรูปข้างล่างเพื่อตรวจสอบว่า EA ตัวที่เราต้องการอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว
 

3. เริ่มต้นทำการ backtest โดยกด View ===> Strategy Tester แล้วกรอกรายละเอียดตามรูปด้านล่าง

การปรับตั้งค่า EA



4. ระบบจะทำการประมวลผลหลังเรากด Start เรียบร้อยแล้วจากนั้นให้รอจนระบบทำงานแล้วแล้วเช็คผลการทำ backtest ได้ที่เมนู Result




( เราสามารถเรียกผลการทดสอบออกมาเป็น report ได้ด้วยการคลิกขวา กด save as report )



** ขอใหันักลงทุนทุกท่านประสบความสำเร็จในการใช้ระบบเทรดอัตโนมัติในการทำเงินนะครับ **

วิธีถอนเงิน


วิธีถอนเงิน
ถอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารไทย ผ่านระบบออนไลน์



คู่มือการใช้งาน MetaTrader 4 (MT4)


คู่มือโปรแกรม MT4

สามารถเข้าไปดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ คลิก

การ Log in
1) คลิกที่เมนู File -> Log in ดังรูป


2) ใส่หมายเลขบัญชีและรหัสผ่านลงไป ตรงช่อง Server ถ้าเป็นบัญชีเทรดจริงให้เลือกเป็น Exness-Real หรือ Exness-Real2 ถ้าเป็นบัญชีทดลอง (Demo) ให้เลือกเป็น Exness-Trial ,Exness-Trial2


3) ถ้า Log in ผ่านเรียบร้อยแล้ว ตรงมุมล่างขวาจะแสดงเครื่องหมายดังรูป ถ้า Log in ไม่ผ่านจะแสดงคำว่า No Connection หรือ Invalid Account หรือข้อความ Error อื่นๆ




การเปิดกราฟ
1) กดเครื่องหมายบวกที่อยู่ด้านบนซ้ายและเลือกสกุลเงินที่ต้องการ.


2) กราฟของสกุลเงินจะแสดงขึ้นมาดังรูป เวลาในกราฟจะเป็นเวลาที่ Server ของ exness


3) สามารถปรับแต่งรูปแบบของกราฟ เช่น สี, ประเภทของกราฟ, เส้นต่างๆ โดยคลิกขวาที่กราฟและเลือก Properties หรือกด F8


4) ที่แท็บ Colors สามารถเปลี่ยนสีของกราฟได้

5) ที่แท็บ Common สามารถเปลี่ยนรูปแบบของกราฟรวมถึงให้แสดงหรือซ่อนเส้นต่างๆได้

Toolbar
ที่ Toolbar ก็จะมีไอคอนต่างๆให้ใช้งานดังนี้ (เรียงลำดับตามกรอบสีแดงที่วงไว้จากบนลงล่าง)

1) ให้แสดงหรือซ่อนหน้าต่างดังนี้
1.1) Market Watch - หน้าต่างดูราคาของสกุลเงินคู่ต่างๆแบบเรียลไทม์
 


1.2) Data Window - หน้าต่างดูข้อมูลราคาเปิด, ปิด, สูงสุด, ต่ำสุด, Volume ของกราฟ ให้นำเมาส์ไปวางไว้ที่ตำแหน่งที่ต้องการดูรายละเอียดในกราฟ


1.3) Navigator - หน้าต่างแสดงรายชื่อ, Indicator, EA, Script


1.4) Terminal - หน้าต่างแสดงออเดอร์ที่กำลังเปิดอยู่, ประวัติการเทรด, Mailbox, Log ของ EA, รายละเอียดการ Log in รวมถึง Error ต่างๆ

1.5) Strategy Tester - หน้าต่างไว้สำหรับการเทส EA



2) ปุ่มเปิดออเดอร์ซื้อขาย
3) ปุ่มเปิด MetaEditor (ใช้เขียน EA) และปุ่มเปิด/ปิดการใช้งาน EA
4) ปุ่มแสดงรูปแบบกราฟเป็นแบบแท่ง, แท่งเทียน, เส้น
5) ปุ่มย่อ/ขยายกราฟ
6) ปุ่ม Auto Scroll ให้กราฟขยับไปทางซ้ายเรื่อยๆเมื่อราคามีการอัพเดท และปุ่ม Chart Shift คือให้กราฟขยับเลื่อนไปทางด้านซ้าย
7) ปุ่ม Indicator ไว้เพิ่ม Indicator ในกราฟ, ปุ่ม Period ไว้เลือกช่วงเวลา (Timeframe) ต่างๆ, ปุ่ม Templates ไว้เซฟรูปแบบกราฟเก็บไว้
8) ปุ่มเลือกรูปแบบเมาส์เป็น Cursor หรือ Crosshair เพื่อแสดงในกราฟ
9) เอาไว้ลากเส้น, เขียนข้อความต่างๆบนกราฟ, และ Indicator Fibonacci
10) เลือกช่วงเวลา (Timeframe) ต่างๆ

การเพิ่ม Indicator
1) คลิกที่ปุ่ม Indicators ทางด้านบนและเลือก Indicator ที่ต้องการเพิ่ม

2) เสร็จแล้วจะมีหน้าต่างเพื่อเซตค่าต่างๆสำหรับ Indicator ตัวอย่างแสดงการเพิ่ม Moving Average

3) Indicator ก็จะแสดงในกราฟดังรูป

4) ถ้าต้องการแก้ค่าต่างๆของ Indicator ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Indicator ก็จะมีหน้าต่างเซตค่าต่างๆแสดงขึ้นมาเหมือนในข้อที่ 2

5) ถ้าต้องการลบ ให้กด Ctrl + i จะแสดงรายชื่อ Indicator ทั้งหมดที่อยู่ในกราฟ ให้คลิกชื่อ Indicator ที่ต้องการลบ แล้วกด Delete

6) สามารถลง Indicator อื่นๆเพิ่มเติมได้โดยการนำไฟล์ Indicator (ไฟล์นามสกุล mq4 หรือ ex4) ก๊อปปี้ไว้ที่โฟลเดอร์ MT4\experts\indicators (ตัวอย่างเช่น C:\Program Files\MetaTrader - FX Clearing\experts\indicators) เสร็จแล้ว Restart MT4, ทำตามข้อ 1 ก็จะเห็นชื่อ Indicator ที่เพิ่มไว้อยู่ในหัวข้อ Custom

การเปิด/ปิดออเดอร์
1) กดปุ่ม New Order บน Toolbar หรือกดปุ่ม F9 หรือ(หากปุ่มคำสั่งnew order(ซื้อหุ้น)ไม่สามารถคลิ๊กได้หรือดับเบิ้ลคลิ๊กบริเวณหุ้นที่ท่านต้องการซื้อไม่ได้ ให้ท่านลองล็อกอินเข้าโปรแกรมซื้อขายหุ้นใหม่โดยใช้รหัสผ่านอีกชุดหนึ่ง หากยังไม่สามารถซื้อขายได้อีกให้ถอนการติดตั้งแล้วติดตั้งโปรแกรมซื้อขายหุ้นอีกครั้งแล้วทำขั้นตอนเดิม)


2) จะมีหน้าต่างแสดงขึ้นมาดังรูป
ท่องจำไว้ให้ดี
ทำกำไรขาขึ้นเลือกคลิ๊กที่ปุ่มBUY
ทำกำไรขาลงเลือกคลิ๊กที่ปุ่มSELL
หลังจากส่งคำสั่งซื้อแล้วจะมีข้อความแจ้งเตือน การซื้อเสร็จสมบูรณ์แล้วให้ท่านคลิ๊กOK ตามภาพด้านล่าง


2.1) Symbol - คู่สกุลเงินที่ต้องการซื้อขาย
2.2) Volume - จำนวน Lot ที่ต้องการเทรด
2.3) Stop Loss - ราคาที่จะให้ปิดออเดอร์อัตโนมัติเมื่อขาดทุน
2.4) Take Profit - ราคาที่จะให้ปิดออเดอร์อัตโนมัติเมื่อกำไร
2.5) Comment - สามารถใส่ Comment สำหรับออเดอร์ที่จะเปิด
2.6) Type - Instant Execution / Market Execution คือเปิดออเดอร์ทันที, Pending Order คือเปิดออเดอร์แบบ Pending (รอให้ราคามาถึงจุดที่เราต้องการถึงจะทำการเปิดออเดอร์)
2.7) Sell - เปิดออเดอร์ขาย
2.8) Buy - เปิดออเดอร์ซื้อ
2.9) Enable maximum deviation from quoted price ใช้เพื่อป้องกันการเจอปัญหา Requote อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

3) ถ้าเลือกการเปิดออเดอร์เป็นแบบ Pending หน้าต่างจะเปลี่ยนเป็นดังรูป การเปิดออเดอร์แบบนั้เป็นการตั้งเปิดออเดอร์ทิ้งไว้ในกรณีที่ราคาที่เราต้องการซื้อหรือขายยังไม่เกิดขึ้น เมื่อราคาปัจจุบันมาถึงราคาที่เราตั้งไว้ ออเดอร์ก็จะเปิดให้อัตโนมัติ

ในส่วน Pending Order จะมีค่าต่างๆให้เลือกดังนี้
3.1) Type - Buy Limit คือทำการซื้อเมื่อราคาปัจจุบันอยู่สูงกว่าราคาที่เราจะซื้อ, Sell Limit คือทำการขายเมื่อราคาปัจจุบันอยู่ต่ำกว่าราคาที่เราจะขาย, Buy Stop คือทำการซื้อเมื่อราคาปัจจุบันอยู่ต่ำกว่าราคาที่เราจะซื้อ, Sell Stop คือทำการขายเมื่อราคาปัจจุบันอยู่สูงกว่าราคาที่เราจะขาย
ตัวอย่าง
สมมติราคาปัจจุบันเป็น 1.0000 แล้วต้องการซื้อที่ 0.9xxx ให้ตั้งเป็น Buy Limit
สมมติราคาปัจจุบันเป็น 1.0000 แล้วต้องการซื้อที่ 1.0xxx ให้ตั้งเป็น Buy Stop
สมมติราคาปัจจุบันเป็น 1.0000 แล้วต้องการขายที่ 0.9xxx ให้ตั้งเป็น Sell Stop
สมมติราคาปัจจุบันเป็น 1.0000 แล้วต้องการขายที่ 1.0xxx ให้ตั้งเป็น Sell Limit

3.2) at price - ใส่ราคาที่เราต้องการซื้อขาย
3.3) Place - ทำการเปิดออเดอร์ Pending
3.4) Expiry - เวลาหมดอายุของออเดอร์ในกรณีที่ยังไม่มีการเปิดออเดอร์

4) ถ้าทำการเปิดออเดอร์แล้วจะเห็นรายละเอียดออเดอร์ที่หน้าต่าง Terminal ด้านล่างดังรูป

4.1) Order - หมายเลขออเดอร์
4.2) Time - เวลาที่ทำการเปิดออเดอร์ (เวลาใน Server)
4.3) Type - ประเภทออเดอร์ (ซื้อหรือขาย)
4.4) Size - จำนวน Volume (Lot)
4.5) Symbol - สกุลเงิน
4.6) Price - ราคาที่ทำการเปิดออเดอร์
4.7) S/L - ราคา Stop Loss (0 คือไม่ได้ทำการเซต)
4.8) T/P - ราคา Target Profit (0 คือไม่ได้ทำการเซต)
4.9) Price - ราคาปัจจุบัน
4.10) Commission - ค่าคอมมิชชั่น
4.11) Swap - ค่า Swap
4.12) Profit - กำไร/ขาดทุน
4.13) Balance - ยอดเงินที่ยังไม่รวมกำไรหรือขาดทุนของออเดอร์ที่กำลังเปิดอยู่
4.14) Equity - ยอดเงินที่รวมกำไรหรือขาดทุนของออเดอร์ที่กำลังเปิดอยู่
4.15) Margin - จำนวน Margin ทั้งหมดที่ใช้ไปในการเปิดออเดอร์
4.16) Free Margin - จำนวน Margin ที่เหลือเพื่อไว้สำหรับเปิดออเดอร์
4.17) Margin Level - มีค่าเท่ากับ Equity / Margin * 100 เป็นอัตราส่วนระหว่าง Equity กับ Margin ยิ่งเยอะยิ่งดี ถ้าลดเหลือน้อยต่ำกว่าประมาณ 50% ออเดอร์ก็จะถูกปิดให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งแต่ละบัญชีก็จะมีระดับ Margin Call Level ที่แตกต่างกัน 

5) ถ้าต้องการปิดออเดอร์ ให้ดับเบิ้ลคลิกที่รายละเอียดของออเดอร์ จะมีหน้าต่างแสดงขึ้นมาดังรูป เลือก Type เป็น Instant Execution และกดปุ่ม Close เพื่อปิดออเดอร์




6) ถ้าต้องการแก้ไขออเดอร์ เช่น Stop Loss หรือ Target Profit ให้ดับเบิ้ลคลิกที่รายละเอียดของออเดอร์ จะมีหน้าต่างแสดงขึ้นมาดังรูป เลือก Type เป็น Modify Order แก้ไขรายละเอียดดามต้องการ และกดปุ่ม Modify เพื่อแก้ไขออเดอร์

7) ถ้าทำการปิดออเดอร์แล้ว รายละเอียดออเดอร์ก็จะย้ายไปอยู่ในแท็บ Account History ดังรูป

7.1) Order - หมายเลขออเดอร์
7.2) Time - เวลาที่ทำการเปิดออเดอร์ (เวลาใน Server)
7.3) Type - ประเภทออเดอร์ (ซื้อหรือขาย)
7.4) Size - จำนวน Volume (Lot)
7.5) Symbol - สกุลเงิน
7.6) Price - ราคาที่ทำการเปิดออเดอร์
7.7) S/L - ราคา Stop Loss (0 คือไม่ได้ทำการเซต)
7.8) T/P - ราคา Target Profit (0 คือไม่ได้ทำการเซต)
7.9) Time - เวลาที่ทำการปิดออเดอร์ (เวลาใน Server)
7.10) Price - ราคาที่ทำการปิดออเดอร์
7.11) Commission - ค่าคอมมิชชั่น
7.12) Swap - ค่า Swap
7.13) Profit - กำไร/ขาดทุน

8) ที่แท็บ Account History สามารถคลิกขวาเพื่อเลือกออฟชั่นต่างๆได้ดังนี้

8.1) All History - ให้แสดงประวัติการเทรดทั้งหมด (โดย Default จะแสดงประวัติการเทรดของเดือนปัจจุบัน)
8.2) Last 3 Months - ให้แสดงประวัติการเทรดย้อนหลัง 3 เดือน
8.3) Last Month - ให้แสดงประวัติการเทรดของเดือนปัจจุบัน
8.4) Custom Period - สามารถเลือกช่วงเวลาที่จะให้แสดงประวัติการเทรดได้
8.5) Save as Report - คือการ Export ประวัติการเทรดออกมาเป็นไฟล์
8.5) Save as Detailed Report - คือการ Export ประวัติการเทรดแบบละเอียดออกมาเป็นไฟล์
8.6) Commissions - ให้แสดง/ซ่อนคอลัมน์ Commissions
8.7) Taxs - ให้แสดง/ซ่อนคอลัมน์ Taxs
8.8) Comments - ให้แสดง/ซ่อนคอลัมน์ Comments
8.9) Auto Arrange - จัดขนาดของคอลัมน์อัตโนมัติ
8.10) Grid - ให้แสดง/ซ่อนเส้นแบ่งคอลัมน์

9) ที่แท็บ Journal จะแสดงรายละเอียดคำสั่งที่เราทำการเทรดทั้งหมด รวมถึง Error ต่างๆ


การติดตั้งและรัน Expert Advisor (EA)
1) นำไฟล์ Indicator ต่างๆที่ต้องใช้ใน EA ไปไว้ที่โฟลเดอร์ MT4\experts\indicators (เช่น C:\Program Files\MetaTrader - FX Clearing\experts\indicators) และนำไฟล์ EA ไปไว้ที่โฟลเดอร์ MT4\experts (เช่น C:\Program Files\MetaTrader - FX Clearing\experts) และ Restart MT4
2. คลิกปุ่ม Expert Advisors ใน Toolbar ให้เป็นสีเขียวดังรูป

3. จะเห็นชื่อ EA ที่หัวข้อ Expert Advisors ในหน้าต่าง Navigator ดังรูป ให้คลิกที่ชื่อ EA แล้วลากใส่ในกราฟ

4. จะมีหน้าต่างแสดงขึ้นมาเพื่อตั้งค่าดังรูป

4.1) Only Long - ให้ EA เปิดออเดอร์ซื้อเท่านั้น
4.2) Only Short - ให้ EA เปิดออเดอร์ขายเท่านั้น
4.3) Long & Short - ให้ EA เปิดออเดอร์ทั้งซื้อและขาย
4.4) Enable alerts - เปิด/ปิดการแจ้งเตือน
4.5) Disable alert once hit - ปิดการแจ้งเตือนเมื่อมีการแจ้งเตือนครั้งแรกมาแล้ว
4.6) Allow live trading - ให้ EA เปิดออเดอร์ในบัญชีเทรดจริงได้หรือไม่
4.7) Ask manual confirmation - ถ้า EA ต้องการเปิดออเดอร์ ให้เราต้องทำการยืนยันอีกหรือไม่
4.8) Allow DLL imports - อนุญาตให้ EA มีการเรียกใช้ DLL หรือไม่
4.9) Confirm DLL function calls - ให้มีการยืนยันทุกครั้งเมื่อมีการเรียกใช้ฟังก์ชั่นใน DLL หรือไม่
4.10) Allow import of external experts - อนุญาตให้มีการเรียกใช้ฟังก์ชั่นใน EA ตัวอื่นหรือไม่

โดยทั่วไปก็จะติ๊กที่ช่อง 4.3), 4.4), 4.6), 4.8), 4.10)

5) ที่แท็บ Inputs ก็จะเป็นการเซตค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่ใช้ใน EA ซึ่ง EA แต่ละตัวก็จะมีการตั้งค่าที่แตกต่างกัน

6) ถ้าติดตั้งเสร็จเรียบร้อยก็จะแสดงชื่อ EA และรูปหน้ายิ้มอยู่ด้านบนขวามือของกราฟดังรูป