วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การใช้ Fibonacci

Fibonacci เป็นเครื่องมือเครื่องมือที่ใช้วัดหา แนวรับ –แนวต้านและหาราคาเป้าหมายของราคาในตลาดForex เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้กันมากเพราะ Fibonacci ใช้ง่าย และเป็นพื้นฐานที่เราควรจะรู้ 
สัดส่วนของ fibonacci ได้แก่ 0 (0%) , 0.236(23.6%) ,0.382(38.2%) ,0.500(50%),0.618(61.8%) , 0.764(76.4%) , 1.00(100%), 1.382(138.2%) , 1.618(161.8%) , 2.618(261.8%) และ 4.236(423.6%) ดังรูปด้านล่าง 
fibonacci-retracment

เลือก Fibonacci โดยเข้าไปที่ Insert >> Fibonacci >> Retracement แล้วก็เอามาลากบนกราฟ โดย Fibonacci แบบเดิมๆ ที่ให้มากับ Mt4 จะไม่มีราคาติดอยู่ที่ระดับต่างๆของ Fibonacci ดังรูปด้านล่าง 
fibonacci-retracment
-เมื่อเรามี Fibonacci อยู่บน Chart แล้ว ให้ คลิกขวาที่ Chart เลือก Objects List แล้วเลือก Fibo จากนั้นเลือก Edit 
-เมื่อคลิกที่ Edit แล้ว ให้คลิกที่ Fibo Levels จากนั้นให้เติมคำว่า =%$ ลงไปต่อท้ายที่ช่อง Descriptions ทุกตัว
Edit-fibo
-เมื่อ ทำเสร็จแล้วจะได้ดังรูป 
fibonacci-retracment-1
การใช้ Fibonacci Retracement 
1. ใช้เพื่อหาแนวรับแนวต้าน (Support and Resistance) 
-หา จุดต่ำสุด(Low) และ หาจุดสูงสุด High ก่อน โดยหาจากยอดคลื่นล่าสุด และ ก้นบึ้งล่าสุด ดังรูป 
fibonacci-retracment
เมื่อราคาได้เคลื่อนตัวลงมาแล้ว ราคาจะขึ้นไปปรับตัวที่ระดับ Fibonacci Retracement 38.2 , 50.0 และ 61.8 เราสามารถใช้ จุดเหล่านี้เป็นแนวต้านของราคาได้ ถ้าราคาไม่สามารถผ่านแนวต้าน (resistance ) นี้ได้ ราคาก็จะปรับตัวลงต่อ และมาทดสอบที่ Low เดิม แต่ถ้าสามารถผ่าน แนวต้านนี้ได้ ราคาก็จะกลับไปทดสอบ High เดิม เช่นเดียวกัน 
2.ใช้ Fibonacci Retracement เพื่อหาราคาเป้าหมาย (Target price )
-ทุกๆครั้งที่เราทำการเข้าเทรด เมื่อเข้าไปแล้ว เราก็ต้องหาราคาเป้าหมาย ว่ามันควรจะไปถึงไหน ซึ่ง Fibonacci Retracement สามารถบอกเราได้ ว่ามันควรจะไปแค่ไหน แต่จงจำไว้นะครับ ว่าทุกอย่างเป็นเพียงแค่การคาดการณ์ ไม่ได้ตรงแปะเสมอไป 
fibonacci-retracment
จากรูปด้านบน จะเห็นว่า ราคาสวิงขึ้นจาก Low ไปที่ High แล้วราคามีการปรับตัวลงมา ตำแหน่งที่ปรับฐาน หรือ แนวรับ ที่เราควรจะสังเกตก็คือ ที่ระดับ Fibonacci Retracement 61.8 , 50.0 และ 38.2 จากรูปด้านบนจะเห็นว่าราคาไม่สามารถผ่าน 50.0 ไปได้ หรือบางครั้งเราอาจจะเรียกตำแหน่งนี้ว่า Pivot Point เมื่อราคาดีดตัว ตรงนี้ เราก็คาดการณ์ได้เลย ว่ามันต้องขึ้นแน่ๆ ก็ เปิด Long (Buy) ได้เลย แล้ว ตั้ง TARGET ไว้ที่ Fibonacci Retracement 161.8 
หวังว่าวิธีนี้คงเป็นประโยชน์ กับเพื่อนๆนะครับ หากมีข้อสงสัยอะไร สามารถ Comment ไว้เลยนะครับ ผมจะกลับมาตอบให้

Auto_Fibo_Trading_System เทคนิคที่ผมใช้ง่าย ๆ

ให้คุณเซ็ต Indicartor ตามนี้

Moving Average = 13 สีน้ำเงิน , Moving Average = 34 สีแดง

โหลดTemplatesไปใช้ได้เลย >>  ดาวน์โหลดที่นี่

*** หลักการวิเคราะห์หาจุด เข้า ซื้อ-ขาย **

1. เส้นสีแดง ตัด เส้นสีน้ำเงิน ขึ้นไป แสดงว่าแนวโน้มเป็นขาขึ้น พิจารณาเข้าซื้อ BUY

2. เส้นสีน้ำเงิน ตัด เส้นสีแดง ลงมา แสดงว่าแนวโน้มเป็นขาลง พิจารณาเข้าขาย SELL


http://www.mediafire.com/download/etn6n6j1yel7l1v/Auto_Fibo_Trading_System.zip


วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ระบบเทรด stochs แบบเทพๆ

ระบบเทรด stochs แบบเทพๆ
มีคนมากมายถามหาระบบที่ผมเทรดอยู่คือ ระบบเทพ stochs แบบเทพๆมันง่ายมากๆในการเทรด ให้ทำตามนี้ครับ…. 

ตั้งกราฟไว้ 2 หน้าต่างคู่กันเสมอ เช่น
a. 4 hour & 30 mins
b. day and 4 hours 
c. day and 1 hours
ตั้งค่าอินดิเคเตอร์ stochs 2 ชุด บนหน้าต่างกราฟทั้งสองหน้าต่าง คือ 5,3,3 & 14,3,3ใส่ Level 20%,50%,80% lines ในอินดิเคเตอร์ Stochs ด้วย

การดูแนวโน้ม 
- คุณจะดูแนวโน้มใหญ่ ในกราฟไทม์เฟรมใหญ่เป็นหลัก - โดยให้เส้น stochs ทั้งสองชุดบอกตรงกัน

การมอง Signals การเข้าเทรด- ให้มองที่กราฟไทม์เฟรมเล็ก - โดยให้เส้น stochs ทั้งสองชุดบอกตรงกัน


Click image for larger version

Name: teb2day.gif
Views: 600
Size: 16.2 KB
ID: 74292
1day Time Frame charta. จะเห็นว่า เส้น stochs ทั้งสองชุดกำลังบอกการลงตรงกัน (แนวเส้นตั้งสีแดง) 
(โดยปกติ คุณจะไม่เห็นบ่อยนัก ที่สัญญาณจะสอดคล้องกันในลักษณะนี้)


Click image for larger version

Name: teb24hour.gif
Views: 483
Size: 18.6 KB
ID: 74293
4H Time Frame charta. เส้นสีแดงหนา จะโชว์ให้เห็นแนวโน้ม ที่เส้น Stochs จากกราฟ 1Day TimeFrame คอนเฟิร์มสัญญาณมาว่า ลง
b. เส้นสีแดงบาง คือจุดที่ stochs ในหน้าต่างกราฟ 4H บอกตรงกันว่า ลง 
c. เส้นสีน้ำเงิน คือจุดปิดออเดอร์ 
- ที่ที่เส้น 14,3,3 shoch บนชาร์ตเล็กบอกการกลับตัว 
- คุณสามารถคอยจนกระทั่ง 5,3,3 บนกราฟใหญ่บอกการกลับตัวด้วยก็ยิ่งดีเข้าไปอีก 

การตั้งค่า Stop loss ( on the day/hour )a. 50+ spread on the day/4 hour 

การตั้งค่า Take Profitsa. ผมมักจะปิดที่ 100pip อยู่เป็นประจำ
b. ที่ 50 pips ขึ้นไป ผมจะหาเหตุผลทุกครั้งก่อนที่จะปิดออเดอร์ เช่น อาจจะมีแท่งเทียนบ่งบอกการกลับตัวขึ้นมาก่อนสัญญาณจาก Stoch 
c. The 14.3.3 บนกราฟเล็ก กลับตัว 
d. The 5.3.3 บนกราฟใหญ่ กลับตัว 
e. ตายตัวใน profit ที่ 25-5o pips

note: 50% on the stochsa. มันจะดีมากถ้ากราฟราคาเคลื่อนผ่านขึ้นไปด้านบนของแนวนี้ หรือ ลงไปด้านล่าง มันเป็นการบ่งบอกแนวโน้มที่ชัดเจนบนกราฟเล็กก่อนที่จะเข้าออเดอร์
b. ผมจะไม่ค่อยสนใจมากมายนักเกี่ยวกับกราฟใหญ่ ตราบใดที่ยังไม่อยู่โซนที่ซื้อหรือขายมากเกินไป 
c. ทั้ง 4 stochs จะต้องเคลื่อนผ่าน 50% ไปในทิศทางเดียวกัน

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไม แต่ถ้าทั้ง 4 stoch ตัดผ่าน 50% ตรงกันหมดเมื่อไหร่ นั่นแหละคือเวลาที่คุณจะได้แนวโน้มขนาดใหญ่เสมอ


ระบบเทรด Hedge & Correlation

Hedge and Correlation Strategy
วิธีการเทรดแบบ “กลับบ้าน”
มี 5 ขั้นตอนง่ายๆ สำหรับการเข้าถึงการเทรดแบบ “กลับบ้าน” จากระบบการเทรดที่เป็นที่รู้จักกันมาเป็นอย่างดีอยู่แล้วคือ “Hedging and Correlation” Method. เรายังคงที่จะใช้วิธี hedging และ correlating

หลายคู่เงินมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกมากกว่า 75% "live” และต่ำกว่า 20-25% “difference” เส้นบนอินดิเคเตอร์ตัวหนึ่งของเราที่เราใช้อยู่ (ดูด้านล่าง — ขอบคุณมากสำหรับคุณ SMJones ที่มอบมาให้). นี่คือบ้านของพวกมัน บางครั้งพวกมันอาจจะเดินทางไปที่ไหนต่อไหนนอกบ้าน (เหมอนกับการขึ้นไปเกิน 50%) และบางครั้งบางคราวพวกมันอาจจะไปแบบระยะยาวพอสมควร (มากกว่า 80%). แต่ก็อย่างวลีที่ว่า “ไม่มีที่ไหนจะเหมือนกับบ้าน” ดังนั้น พวกมันจะกลับไปที่ใต้ 20% ในที่สุด, ซึ่งเป็นที่ที่พวกมันจะไปอยู่กันที่นั่นโดยส่วนใหญ่. เราจะเปิดออเดอร์เมื่อพวกมันออกนอกบ้านไปไกลๆ เป็นการช่วยให้พวกมันกลับมาที่บ้าน ซึ่งนั่นก็คือการสร้างรายได้ให้กับคุณในระหว่างที่มันกำลังเดินทางกลับมา

มี 5 ขั้นตอนง่ายสำหรับการเทรดที่จะสำเร็จอย่างสมบูรณ์:
1. ไปที่เวปไซต์

http://www.myfxbook.com/forex-market/correlation
พิมที่ Find currencies with correlation lower than: เป็น -80 ให้เลือกคู่เงิน



(หรือดูได้จากอีกเว็ปhttp://fxtrade.oanda.com/analysis/currency-correlation)
 

2. เลือก Timeframe:  “Daily” และดูว่าคู่เงินไหนที่มีค่า ความสัมพันธ์กันที่เป็นบวก มากกว่า -75 หรือน้อยกว่านั้น (ผมจะดูทั้งหมด  25 คู่เงิน, ซึ่งมันง่ายมากๆที่จะทำโดยใช้ indicator ที่อยู่ด้านล่าง)


3. เปิดกราฟ 5M ไทม์เฟรม บน MT4 สำหรับคู่เงินทุกคู่ที่เราเลือกมาจากขั้นตอนด้านบน จากนั้นให้ใส่ อินดิเคเตอร์ “Stochastic different pairs 1.1” ลงบนกราฟทุกคู่เงิน

4. เมื่อแท่งเทียน 5M ตัดผ่านมากกว่า 80% differential ให้เปิดออเดอร์ sell ที่จุดสูงสุดของกราฟ
(เส้นแดงอยู่บนsell) , และเปิด buy ที่จุดต่ำสุดของกราฟ(เส้นแดงอยู่ล่างbuy)
5. ปิดออเดอร์ที่ 50%, หรือต่ำกว่านั้น






ประโยชน์:
1. ไม่ต้องมาคอยเฝ้ามองกราฟไปตลอด คุณสามารถตั้งค่า “Stochastic Different Pairs 1b” ให้แจ้งเตือนแบบหน้าต่าง pop-up ขึ้นมาบนหน้าต่างกราฟได้ หรืออาจจะตั้งให้มันส่งเป็นอีเมล์เข้ามาที่มือถือก็ได้ด้วย.
2. มีระบบการตั้งค่า stop-loss ฝังอยู่ภายในอินดิเคเตอร์. นั่นหมายถึงว่า ออเดอร์จะปิดที่ 50% เมื่อกราฟตัดผ่านมาถึง, นั่นก็คือ เราไม่จำเป็นต้องไปใส่ค่า stop losses บนออเดอร์ของเราเลย. ออเดอร์มันจะปิดให้เองเมื่อกราฟตัดผ่านแนว 50%.
3. มีระบบการตั้งค่า การป้องกันตลาดเคลื่อนไหวแบบ มีเทรนด์หรือไซด์เวย์. เมื่อไม่มีอะไรมากไปกว่า 20% เราก็จะไม่ทำอะไร.
4. โอกาสที่มีมากมายในการเทรดในแต่ละวัน คุณสามารถเทรดได้ไม่จำกัดเวลา ไม่วาจะกลางคืนหรือกลางวัน.



วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

มาทำความรู้จัก Indicator (Moving Average)


เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) 



สุดยอด Template ช่วยเทรดง่ายๆ

การติดตั้ง Indicators


การติดตั้ง Template
หลัง จากที่ดาวน์โหลด Template มาแล้ว ให้ก็อบปี้ไปวางไว้ที่โฟลเดอร์ -->Program Files-->MetaTrader - Masterforex-->templates สำหรับ MT4 ของ Masterforex นะคะ ถ้าใช้ MT4 ของที่อื่นก็ให้ไปที่โฟลเดอร์ของ MT4 นั้นๆ แล้ววางไว้ที่ templates ค่ะ


วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัญญาณกราฟแท่งเทียน

วันนี้มาดู การหาจุดกลับตัวของแนวโน้มโดยใช้กราฟแท่งเทียน


ถาม : ทำไมต้องศึกษารูปแบบพวกนี้

ตอบ : เพราะราคา มักจะมีรูปแบบเฉพาะตัว ที่มักจะมี รูปแบบของแท่งเทียน บอกให้เรารู้ว่า ราคาต่อไปจะเป็นอย่างไร สรุปคือ รูปแบบพวกนี้ มีการเก็บสถิติ ว่า มีการเกิดขึ้นบ่อยๆ และมีการเก็บสถิติต่อว่า เมื่อเกิดรูปแบบที่ว่าแล้ว ราคามันจะเป็นอย่างไรต่อไป



กร๊าฟแทงเทียนโดยทั่วไปจะมี อยู่ 2 สี ที่ต่างกัน คือ เขียว กับ แดง (แต่ปรกติตัวโปรแกรมสามารถตั้งเป็นสีอะไรก็ได้) อย่างที่บอก กร๊าฟแทงเทียน 1 แทง คือการต่อสู้กันของพลังซื้อ กับพลังขาย หากกร๊าฟ นั้นเป็นสีแดง นั้นคือ ในแท่งนั้น พลังขายชนะ หาก เป็นสีเขียว นั้นคือ พลังซื้อชนะ

ส่วนที่เป็นบริเวณไส้เทียน นั้นคือ จุดสูงสุด หรือสุดต่ำสุด ที่พลังทั้ง 2 สู้กัน



แต่ถ้าหากว่ากร๊าฟแท่งเทียน ไม่มีตัว นั้นหมายถึง ราคาปิด กับราคาเปิด เป็นจุดเดียวกัน หรือพูดง่ายๆก็คือ พลังซื้อ กับ พลังขาย มันมีพลังพอๆกัน ในช่วงแท่งเทียนนนั้น



สำหรับเจ้าโดจิป้ายศพ ตามรูปข่างล่าง หากเกิดขึ้นที่ยอดของราคาหุ้น มันก็ตามความหมายเลย ต้องรีบขายซะ





...........................

ทีนี้มาดูกร๊าฟแท่งเทียนรูปแบบค้อนกันบ้าง ตามรูปข้างล่าง จะแดงหรือ เขียวก็ได้ โดยจะต้อมมีตัวอยู่ข้างบน ไส้เทียนด้านบน อาจจะมี แต่ต้องสั้นมาก และใส้เทียนข้างล่างจะต้อง ยาวกว่า ตัว 2-3 เท่า




.................................


เรียกว่ารูปแบบค้อน หรือ แฮมเมอร์ รูปแบบนี้แสดงให้เห็นว่า มีโอกาสถึงจุดกลับตัวค่อนข้างสูง นั้นคิอ ราคามันจะขึ้น







.....................................

อีกรูปแบบเรียกว่า คนแขวนคอ ความหมายก็น่ากลัวตามชื่อนั้นแหละ นั้นคือ หากแท่งเทียนแท่งต่อไป ราคาต่ำกว่า แท่งเทียนคนแขวนคอ มีโอกาสที่จุดนี้จะเป็นจุดกลับตัว




........................................

ตัวอย่าง จะเห็นในรูปที่ ที่จุดที่ 1 นั้น มีการกลับตัว แต่สัญญานยังไม่ชัดเท่าอันที่ 2 เพราะ จะเห็นว่า จุดที่ 2 นั้น หางมีความยาวกว่าตัวมาก สัญญาณ จึงชัดกว่า





...................

ต่อไปเป็นรูปแบบ ที่เรียกว่า รูปแบบ กลื่นกิน หรือ Engulfing Pattern

มีข้อแม้ว่า

1. ตลาดต้องมีแนวโน้มที่ชัดเจนอยู่แล้วก่อนหน้านั้น เช่น ขึ้นก็ขึ้นเอาๆ หรือลงก็ลงเอาๆ

2. ตัวแท่งเทียน ที่ 2 ต้องคอบคุม ตัวแท่งเทียนแรกทั้งหมด ยิ่งคุมมากสัญญาณก็ยิ่งชัด (แต่ไม่จำเป็นต้องคอบคุมใส้เทียนทั้งมด)

3. แท่งเทียนที่ 2 จะต้องมีสีต้องกันข้ามกับแท่งเทียนอันแรก

รูปแบบ ตามรูปข้างล่าง หากเจอรูปแบบนี้ มีโอกาส เปลี่ยนเทรนสูง

เช่นข้างล่าง ราคาลงอยู่ดีๆ อยู่ๆก็เจอแท่งเทียนสีแดง ที่มีพลังขายชนะพลังซื้อ เมื่อถึงเวลานี้ ตลาดก็เริ่มงงว่าจะเอายังไงกันแน่ จะขึ้นหรือจะลง พอเจอแท่งเทียนที่ 2 แท่งเทียนแท่งที่ 2 นี้ พลังซื้อ กับพลังขาย ต่อสู้กันอย่างรุนแรง จนสุดท้าย พลังซื้อชนะ ราคาของกร๊าฟ ก็เลยได้เทรนใหม่ กลายเป็นเทรนขึ้นไปเลย เพราะพฤติกรรมของราคา ประมาณว่า แห่กันไป ใครตกเทรนก็ซวยไป ประมาณนั้น




ส่วนรูปข้างล่างก็แนวๆเดียวกัน ก็ประมาณว่า ราคาขึ้นอยู่ดีๆ อยู่ๆเจอแท่งเทียนที่พลังซื้อชนะพลังขาย จากนั้น ตลาดก็เริ่มงงว่า จะเอายังไงแน่ พอเจอแท่งที่ 2 เข้าไป ก็เลยได้ข้อสรุปว่า งั้นก็ลงกันสิฟ๊ะ ก็เลยแห่กันตามไป และเหมือนเดิม ใครตกเทรน ก็ซวยไป






.............................

มาดูตัวอย่างในราคาหุ้นของ vannachai group ในกรอบสี่เหลี่ยม จากราคาขึ้นอยู่ดีๆ เจอรูปแบบ กลื่นกินเข้าไป เปลี่ยนเทรนเลย




..........................












มาในรูปแบบต่อไป เรียกว่า เมฆดำปกคลุม (Dark Cloud Cover)

รูปแบบนี้ดูเหมือนจะคล้ายๆ รูปแบบ "กลื่นกิน" อยู่เหมือนกัน ประมาณว่า กร๊าฟขึ้นอยู่ดีๆ แล้วก็มาเจอแท่งเทียนที่ 2 (เป็นแท่งสีแดง) และจุดเปิดของแท่งสีแดง ดันสูงกว่าจุดปิดของแท่งสีเขียว (หากว่าสูงกว่าใส้เทียนสูงสุดของแท่งสีแดง จะเป็นการยืนยันสัญญาณที่ชัดเจน)

ที่ที่สำคัญ จุดปิดของแท่งสีแดง ต้องต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นส์ ของแท่งสีเขียว






ส่วนรูปแบบกลับกันเรียกว่า รูปแบบ "ทิ่มแทง" Piercing คือประมาณว่า ราคาลงอยู่ดีๆ อยู่ๆ ก็เจอแท่งสีแดงแท่งแรก แล้วมีแทงสีเขียวตามมา แบบนี้มีข้อแม้ว่า

1.ราคาปิดแท่งแดง ต้องสูงกว่า ราคา เปิดแท่งเขียว

2.ราคาปิดแท่งเขียว ต้องเกิน 50 เปอร์เซนส์ของตัวของแท่งเทียนสีแดง ยิ่งเกินเยอะสัญญาณยิ่งชัด




มาดูตัวอย่างของกร๊าฟ SET มีทั้ง 2แบบ




รูปแบบต่อไป เป็นรูปแบบที่ต่อเนื่องกับ เมฆดำปกคลุม และ ทิ่มแทง แต่ต่างกันที่ แท่งสีเขียว ไม่สามารถผ่าทะลุ 50 เปอร์เซ็นของตัวแท่งสีแดงไปได้ นั้น หมายความว่า แนวโน้ม ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง (ยังไม่ใช่รูปแบบ การกลับตัว)

มีรูปแบบเช่น

1. On neck

2. In neck

3. Thrusing Pattern




รูปข้างล่างนี้แสดงให้เห็นว่า แท่งสีเขียว ไม่สามารถทะลุ 50 เปอร์เซ็นส์ของแท่งสีแดงไปได้ จึงไม่ใช่จุดกลับตัว







............................

รูปแบบต่อไปเรียกว่า "รูปแบบดาวตก" shooting star

รูปแบบนี้พบบ่อย แท่งเทียนจะเป็นสีอะไรก็ได้ แต่ที่สำคัญจะต้องมี Gap นั้นคือ การเปิดตัวกระโดดขึ้นไป หาง (ไส้เทียนจะต้องยาว ยิ่งยาวยิ่งดี) และ หากแท่งเทียนแท่งต่อไป ลง นั้นคือสัญญาณที่ชัดเจน







รูปแบบต่อไป เป็นรูปแบบ ที่ตรงกันข้ามกับ ดาวตก นั่นคือ "รูปแบบฆ้อนกลับหัว" หรือ Invert Hammer

รูปแบบนี้ตัวแท่งเทียน จะสีอะไรก็ได้ แต่ที่สำคัญต้องมี Gap อีกเช่นกัน และ แท่งเทียนต่อไป หากมีการปิดที่ ราคาสูงขึ้น นั่นเป็นการยืนยันสัญญาณ




ดูตัวอย่างร๊าฟราคาของ CPF ดูที่ราคาปิดของแท่งเทียนก่อนหน้า กับราคา เปิดของแท่งเทียนสีเขียว มันไม่ใช่ต่ำแหน่งเดียวกัน และมีแท่งสีแดงหลังจากนั้น ราคาต่ำลง(เพราะเป็นแท่งสีแดงนิ พลังขายชนะพลังซื้อ) เป็นการยืนยันสัญญาณว่า ราคามันจะลง







...........................

รูปแบบต่อไปเรียกว่า รูปแบบ "คนมีท้อง" หรือ Harami Pattern

แท่งเทียนจะสีอะไรก็ได้ แต่ว่า แท่งที่ 2 จะต้องเล็กกว่าแท่งแรก รูปแบบนี้จะตรงกันข้ามกับ รูปแบบกลื่นกิน

ส่วน แท่งที่ 3 ถ้าขึ้น หรือลง นั่นเป็นตัวยืนยันสัญญาณ ทำไมถึงเรียกว่า คนมีท้อง ก็ดูดีๆ ว่า แท่งแรก เขาว่ามันเหมือนคน ส่วนแทงที่ 2 เขาว่า มันเหมือนท้อง เลยเป็นคนอุ้มท้องไปซะเลย ช่างคิดจริงๆ ฮ่าๆ






นี้เป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นที่ SET ลงดูในกรอบสี่เหลี่ยม จะพบว่า เกิดรูปแบบ คนมีท้อง จากนั้น แท่งที่ 3 เป็นการยืนยันว่า การขึ้นมันจบแล้วนะ








....................................


รูปแบบต่อไปเรียกว่า ฮารามิกากบาท หรือ Harami Cross คือเหมือนกับคนมีท้องนั่นแหละ แต่จะให้สัญญาณที่แรงกว่า เพราะตัวกากบาท หรือที่เราเรียกว่า ตัว โดจิ เป็นการสู้กันของ ราคาซื้อ และราคาขาย แบบว่าเสมอกัน กินกันไม่ลง แต่ตัวแปล นั้น กลับอยู่ที่ แท่งเทียนที่ 3 ว่าจะขึ้นหรือลง ดัง้นั้นแท่งที่ 3 เป็นตัวยืนยันสัญญาณ ดั้งนั้น แท่งที่ 3จึงสำคัญมาก

ปล. แท่งเทียนยิ่งสแกลใหญ่ ยิ่งมีความแมนย่ำสูง เช่น แท่งเทียน 1 วัน แมนย่ำ กว่าแท่งเทียน 1นาที





มาดูตัวอย่างใน SET ในรูปสีแหลี่ยม จะเห็น Harami Cross จากนั้นมันก็จะปรับตัวขึ้นเลย แท่งที่ 3 สำคัญมาก






.........................

ต่อไปเป็นรูปแบบ Tweezer Top กับ Tweezer Bottorn หรือ บางคนก็อาจจะเรียกว่า Double Top กับ Double Bottorn รูปแบบ นี้เป็นการผสมผสานกับ ลักษณะสัญญาณข้างบน เช่น Harami Cross , Harami Pattern , shooting star ฯลฯ

แต่มีข้อแม้อยู่อย่างหนึ่งก็คือ ในส่วนของ Double Top ราคาสูงสุดจะเท่ากัน และ Double Bottorn ราคาต่ำสุดจะเท่ากัน รูปแบบนี้ จะเป็นการเพิ่มสัญญาณความแรง เป็นการยืนยันสัญญาณที่แรงกว่าว่างั้นแหละ




...........................
รูปแบบต่อไปเรียกว่า เข็มขัดกระทิง หรือ Bullish Belt Hold และรูปแบบตรงกันข้ามคือ เข็มขัดหมี หรือ Bearish Belt Hold รูปแบบนี้ดูเหมือนจะคล้ายๆ แฮมเมอร์ กับคนแขวนคอ


^
^
รูปแบบ แฮมเมอร์ กับคนแขวนคอ



แต่มันจะต่างกันที่ แฮมเมอร์ กับคนแขวนคอ มันสีอะไรก็ได้ แต่รูปแบบ เข็มขัด ตามสีในรูปข้างล่าง และที่สำคัญ รูปแบบเข็มขัด ตัวจะยาวกว่าหาง





ตัวอย่างรูปแบบกระทิงในรูปข้างล่าง









.......................

รูปแบบต่อไปเรียกว่า อีกา 2 ตัวบนช่องว่าง (Upside Gap Two Crows)

อีกาเป็นความโชคร้ายของญี่ปุ่น

คือในรูปข้างล่าง เราจะต้องมี Gap คือ ราคาเปิดกระโดดสูงขึ้นไป แต่สุดท้าย กลับปิดในแรงบวกไม่ได้ (อีกาตัวแรง) จากนั้น ตลาดก็เริ่มงง ว่าจะเอายังไงดี ก้มาเจอ อีกาตัวที่ 2 พอเจออีกาตัวที่ 2 คราวนี้ชัดเลย แท่งที่ 3 (ยืนยันสัญญาณ) ก็เริ่มลง

จะเห็นว่า มันคล้ายๆ Harami (คนมีท้อง)เหมือนกัน แต่ต่างกันที่ อันนี้มันมี Gap และคนมีท้อง ท้องจะอยู่ด้านขวา





อีกตัวจะเรียกว่า อีกา 3 ตัว (Three Black Crows) อีกามากัน 3 ตัวเลย แบบนี้ ไม่ต้องมี Gap ก็ใช้ได้ แต่ อีกา 3 ตัวนั้น ต้องราคาต่ำลงเรื่อยๆ




ตัวอย่าง







.........................


รูปแบบต่อไป ผู้เขียนเรียกง่ายๆว่า "กระทิงโต้กลับ" แต่ชื่อจริงๆคือ เส้นทางการตีโต้กลับกระทิง (ชื่อยาวจริงๆ) หรือ Bullish Counterattack Line


ข้อแม้คือ

1.แท่งเทียนแท่งแรกต้องเป็นสีแดง

2.แท่งเทียนที่ 2 ต้องเป็นสีเขียว

3.แท่งเทียนสีเขียว พอเปิดแล้ว ราคาต่ำลงมา พอถึงจุดหนึ่ง กลับตีโต้ราคาขึ้นไป จนไปปิด ที่ราคาเท่ากับราคาปิดของแท่งสีแดง ประมาณว่า สีเขียวตีโต้สีแดง




ต่อไปเป็นรูปแบบที่ตรงกันข้าม ผู้เขียนขอเรียกง่ายๆว่า "หมีโต้กลับ" แต่ชื่อเต็มๆคือ เส้นทางการโต้กลับหมี หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ Bearish Counterattack Line

มีข้อแม้คือ

1. แท่งเทียนอันแรกต้องเป็นสีเขียว

2. แท่งเทียนแท่งที่ 2 เป็น สีแดง

3. ประมาณว่า แท่งเทียนแรก สีเขียว ราคากำลังขึ้นอยู่ดีๆ พอแท่งที่ 2 ก็ยังขึ้นอยู่ พอถึงจุดสูงสุดของราคา กลับโดนโต้ด้วย หมี (สัญญาณขาย)จนกลับมาปิดที่ จุดเริ่ม พอแท่งที่ 3 ราคาก็ลงต่อ เป็นการยืนยันสัญญาณลงเข้าไปอีก





ตัวอย่าง





................................

รูปแบบต่อไป เรียกว่า ยอดหอคอย หรือ Tower Top

รูปแบบนี้ถือว่าเป็นรูปแบบ "ผสม" ดังนั้น จึงค่อนข้างอธิบายในเชิงวิชาการยากนิดหน่อย แต่สามารถ อธิบายภาษาชาวบ้าน ประมาณว่า

ราคา ขึ้นมาสักพัก ขึ้นมาเรื่อยๆ จนเริ่มหมดแรง และลงนิดหน่อย (ในแท่งที่ 3) จะนั้นตลาด เริ่มงง ว่าจะเอายังไงต่อ ก็ได้คำตอบว่า ขึ้นอีกสักนิดน่า จนสุดท้าย ความเชื่อที่ว่า ราคาจะขึ้นต่อ ได้หมดลงไป จนเจอ แท่งสีแดง ขนาดใหญ่ เป็นการยืนยันการกลับตัว ได้เยืยมเลย ยิ่งแท่งที่ 7 เป็นการยืนยันอย่างดี




รูปแบบข้างล่าง เป็นรูปแบบ ตรงกันข้ามกับรูปแบบ ยอดหอคอย เรียกว่า ฐานหอคอย หรือ Tower Bottorn



รูปตัวอย่างจาก SET ประมาณว่า เจอแท่งที่มีการปรับตัวแคบๆ ก่อนที่จะมีแท่งที่ สีตรงกันข้าม






..........................

แท่งเทียนในรูปแบบต่อไป เรียกว่า Evening Star หรือ ดาววีนัส

ข้อแม้คือ

1.จะต้องมี Gap

2. แท่งที่เป็นดาว สีอะไรก็ได้ แต่ตัวของมันต้องสั้นๆในรูปแบบดาว และไส้ของมันต้องสั้นๆด้วย (แท่งที่ 2)

3. แท่งเทียน 2 ข้าง ต้องเป็นสีที่อยู่ในรูป (บังคับ)

4. ต้องมี 3แท่งจึงจะครบองค์ประกอบ




รูปแบบตรงกั้นข้ามคือ Moming Star หรือ ดาวเมอคิวรี่


หลักการก็คล้ายๆกับ ดาววีนัส แต่ตรงกันข้ามเท่านั้นเอง




ตัวอย่าง







รูปแบบที่ใกล้เคียงคือ Evening Doji Star หรือ ดาววีนัสโดจิ เป็นรูปแบบที่เหมือนดาววีนัสทุกอย่าง แต่จะให้สัญญาณที่แรงกว่า






รูปแบบที่ใกล้เคียงอีกอันเรียกว่า Moming Doji Star ลักษณะก็เหมือนกับ ดาวเมอคิวรี่ แต่จะให้สัญญาณที่แรงกว่า






จบตอนแล้ว ความรู้คืออำนาจ หากศึกษา ก็จะสามารถพึ่งพาตัวเองได้