วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2562

วัฎจักรของกราฟ

การวิเคราะห์ Forex ขั้นที่ 4 วัฎจักรของกราฟ
ช่วงเวลาในตลาด forex

ตลาด Australian Dollar or AUD เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 5.00 – 13.00 น.

ตลาด Japanese Yen or JPY เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 7.00 – 14.00 น.

ตลาด Euro or EUR เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 13.00 – 21.00 น.

ตลาด British Pound or GBP เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 14.00 - 22.00 น.

ตลาด Swiss Franc or CHF เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 13.00 – 21.00 น.

ตลาด US Dollar or USD เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 19.00 ถึงเวลาตี 3 ปิดตลาด

--------------------------------------------------------------------------------------------

ธรรมชาติของสกุลค่าเงินมักจะมีธรรมชาติในตัวมันเองให้เห็นเสมอๆ
การเกิด Cycle วงจรของรอบกราฟ มีธรรมชาติให้เห็นทุกๆ เวลา (TF)
การฝึกมองธรรมชาติของแต่ละสกุลเงินนั่นจะทำให้เข้าใจการวิ่งของค่างเงินนั่นๆและจะเข้าใจการหยุดนิ่งว่าทำไมถึงนิ่ง
การวิ่ง คือ การเกิดแนวโน้ม การนิ่งสวิงไปมาก็ คือ ไม่มีแนวโน้ม (sideway)

จุดที่น่าสนใจของการมองหาจังหวะเข้าเทรด นั่นสำคัญมากๆ
โดยจะแบบเป็นรอบที่น่าสนใจเป็น 3 รอบด้วยกันใน 1 วัน
โดยมี 2 รอบที่มักจะวิ่งแรงๆและมีแนวโน้มเหมาะกับการเทรดเสมอๆ คือ ช่วงรอบ 13.00 – 17.00 โดยเฉลี่ยมักจะวิ่งและมีแนวโน้มให้เห็นเสมอๆ
และช่วงรอบ 19.00 – 23.00 โดยเฉลี่ยมักจะวิ่งและมีแนวโน้มให้เห็นเสมอๆ
ส่วนอีก 1 รอบ ที่วิ่งก่อนตลาด Us Dollar จะปิด
รอบ 12.00 – ประมาณตี 1 (แต่การเคลื่อนไหวของราคาบางวันก็ไม่วิ่ง บางวันก็วิ่งแรง )
รอบนี้โดยทั่วไปจะไม่สำคัญเท่า 2 รอบแรก (ฉะนั่นหาเวลาเล่นแค่ 2 รอบตอนแรกต่อวันก็พอแล้ว)
เวลาที่มักจะวิ่งดูได้จากเวลาการเปิดและปิดตลาดของแต่ละสกุลเงินชนกัน และอยู่ในโซนเดียวกันมักจะมีแรงซื้อ แรงขายเข้ามามาก

สรุปแล้วเวลาที่เหมาะกับการเทรด
อยู่ระหว่าง 13.00 – 23.00 น. ของโซนตลาด EUR GBP USD สามตลาดนี้มักจะเป็นตัวการสำคัญของการวิ่งและมีแรงซื้อ ขายเข้ามามาก
โดยจังหวะการเข้าเทรด มักจะนิยมเล่นเป็นรอบๆไปคือรอบ เวลา 13.00 – 17.00 โดยประมาณจะวิ่งหนึ่งรอบแล้วถึงมีการพักตัวของกราฟ(ราคาไม่วิ่งไปไหนมาก)
และอีกหนึ่งรอบ ช่วงรอบ 19.00 – 23.00 อีกหนึ่งรอบแล้วถึงเกิดการพักตัวของกราฟ (ราคาไม่วิ่งไปไหนมาก)


ความสัมพันธ์ของแต่ละ สกุลเงิน ที่นิยมเทรด

เริ่มจาก EUR/USD เรียกกันย่อๆว่า Eu
ถ้า Eu ดีดตัวแรงมักจะดึง Ej ไปตามทิศทางเดียวกันด้วยเสมอๆ

GBP/USD เรียกย่อๆว่า Gu
ถ้า Gu ดีดตัวแรงมักจะ ดึง Gj ไปตามทิศทางเดียวกันด้วยเสมอๆ

EUR/GBP เรียกย่อๆว่า Eg
ถ้า Eg ดีดตัวแรง จะเห็น Gu วิ่งตรงข้ามกับ Eg เสมอๆ

USD/JPY เรียกย่อๆว่า Uj
ถ้า Uj ดีดตัวแรงมักจะ Ej และ Gj ไปทิศทางเดียวด้วยเสมอๆ
(โดยเฉพาะถ้า Eu Gu อยู่ในช่วงกราฟนิ่งๆ(sideway) แต่Ujมีแรงวิ่งมาก มักจะดึง Ej Gj ไปแรงๆเสมอๆ )

Eu มักจะวิ่งไปทางทิศเดียวกับ Gu เสมอๆ โดยเฉพาะถ้าสองตัวนี้วิ่งไปแนวโน้มเดียวกันจะสังเกตุเห็นว่าวันนั่นตลาดจะเล่นง่าย เพราะเกิดแนวโน้มที่ชัดเจน และจะไปดึงให้สกุลอื่นๆมีแนวโน้มที่ชัดเจนตามด้วยเสมอๆ


ธรรมชาติของการวิ่ง

มักจะเห็นการวิ่งระหว่างช่วง ท้ายชั่วโมง กับ ต้นชั่วโมงเสมอๆ
มักจะวิ่งตอนปลายนาทีระหว่าง นาทีที่45 ถึงต้นชั่วโมงช่วง 15นาทีแรก
และมักจะไปหยุด(พักตัว)วิ่งช่วงระหว่างนาทีที่ 25-40 ของในหนึ่งชั่วโมง โดยประมาณจากการศึกษาธรรมชาติ

การวิ่งของสกุลเงินแต่ละตัวนั่น โดยเฉลี่ย 1 สัปดาห์ 5 วันของการเทรด มักจะวิ่งโดยมีแนวโน้มและจับจังหวะไม่ยาก ประมาณ 2-3 วันต่อสัปดาห์แค่นั่น
ที่เหลือส่วนใหญ่จะเป็นช่วง สวิงไปๆมาๆ นิ่งๆไม่ไปไหน
ฉะนั่นในหนึ่งสัปดาห์ต้องวางแผนและมองภาพรวมให้ออกก่อนเสมอๆ

ในรอบ 1 เดือนนั่นจะมีให้เทรดทั้งหมด 4 สัปดาห์
ช่วงต้นเดือนมักจะเล่นยากเสมอๆ(กราฟไม่ค่อยไปไหน)
ส่วนช่วงกลางเดือนมักจะมีจังหวะไม่ยาก และปลายเดือนก็มักจะเล่นไม่ยากเช่นกัน

ต่อไปก็มาดูกันว่า ว่าธรรมชาติของการวิ่งระดับ
1m 5m 15m 30m 1h 4h 1d ว่าธรรมชาติการวิ่งเป็นอย่างไร


เริ่มต้นฝีกสังเกตธรรมชาติของกราฟระดับ M1

ดูธรรมชาติของจากเริ่มต้นไปถึงสุดทางวิ่งเท่าไหร่
ดูธรรมชาติของเวลาว่าการกินเวลาของช่วงเริ่มต้นไปจนสุดกินเวลาเท่าไหร่
ฝึกดูจังหวะพักตัวมักจะพักตัวที่เวลาไหน นาทีที่เท่าไหร่
ฝึกดูว่าจังหวะไหนเหมาะสมกับการเข้าไปเล่น จังหวะไหนควรรอ
ธรรมชาติของเวลาและการขึ้น การลง มักจะเกิดซ้ำๆให้เห็นบ่อยๆ
(โดยมองหลักความน่าจะเป็นควบตาม)

โดยเฉลี่ยระดับการวิ่งของกราฟที่ 1 นาทีวิ่งได้ตั้งแต่ 5 จุด - 100ต้นๆโดยประมาณต้องดูให้ออกก่อนว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นเป็นแบบใหญ่ แบบเล็ก แบบย่อย ต่อหนึ่งรอบการวิ่ง
โดยการกินเวลาจะอยู่ระดับโดยเฉลี่ยที่ สิบนาทีขึ้นไปแต่ไม่เกินสองชั่วโมงต่อหนึ่งรอบการวิ่งของแบบแนวโน้มใหญ่ เล็กและย่อย



เริ่มต้นฝึกสังเกตธรรมชาติของกราฟระดับ M5

ดูธรรมชาติของจากเริ่มต้นไปถึงสุดทางวิ่งเท่าไหร่
ดูธรรมชาติของเวลาว่าการกินเวลาของช่วงเริ่มต้นไปจนสุดกินเวลาเท่าไหร่
ฝึกดูจังหวะพักตัวมักจะพักตัวที่เวลาไหน นาทีที่เท่าไหร่
ฝึกดูว่าจังหวะไหนเหมาะสมกับการเข้าไปเล่น จังหวะไหนควรรอ
ธรรมชาติของเวลาและการขึ้น การลง มักจะเกิดซ้ำๆให้เห็นบ่อยๆ
(โดยมองหลักความน่าจะเป็นควบตาม)

โดยเฉลี่ยระดับการวิ่งของกราฟที่ 5 นาทีวิ่งได้ตั้งแต่ 20 จุด -100 ต้นๆ โดยประมาณต้องดูให้ออกก่อนว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นเป็นแบบใหญ่ แบบเล็ก แบบย่อย ต่อหนึ่งรอบการวิ่ง
โดยการกินเวลาจะอยู่ระดับโดยเฉลี่ยตั้งแต่ ครึ่งชั่วโมงขึ้นไปแต่ไม่เกิน 3-4 ชั่วโมง ต่อหนึ่งรอบการวิ่งของแบบแนวโน้มใหญ่ เล็กและย่อย



เริ่มต้นฝึกสังเกตธรรมชาติของกราฟระดับ M15

ดูธรรมชาติของจากเริ่มต้นไปถึงสุดทางวิ่งเท่าไหร่
ดูธรรมชาติของเวลาว่าการกินเวลาของช่วงเริ่มต้นไปจนสุดกินเวลาเท่าไหร่
ฝึกดูจังหวะพักตัวมักจะพักตัวที่เวลาไหน นาทีที่เท่าไหร่
ฝึกดูว่าจังหวะไหนเหมาะสมกับการเข้าไปเล่น จังหวะไหนควรรอ
ธรรมชาติของเวลาและการขึ้น การลง มักจะเกิดซ้ำๆให้เห็นบ่อยๆ
(โดยมองหลักความน่าจะเป็นควบตาม)
โดยเฉลี่ยระดับการวิ่งของกราฟที่15นาทีวิ่งได้ตั้งแต่ 30 จุดถึง100-200จุด โดยประมาณต้องดูให้ออกก่อนว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นเป็นแบบใหญ่ แบบเล็ก แบบย่อยต่อหนึ่งรอบการวิ่ง
โดยการกินเวลาจะอยู่ระดับโดยเฉลี่ยที่ ครึ่งชั่วโมงขึ้นไปแต่ไม่เกินหนึ่งวันต่อหนึ่งรอบการวิ่งของแบบแนวโน้มใหญ่ เล็กและย่อย



เริ่มต้นฝึกสังเกตธรรมชาติของกราฟระดับ M30

ดูธรรมชาติของจากเริ่มต้นไปถึงสุดทางวิ่งเท่าไหร่
ดูธรรมชาติของเวลาว่าการกินเวลาของช่วงเริ่มต้นไปจนสุดกินเวลาเท่าไหร่
ฝึกดูจังหวะพักตัวมักจะพักตัวที่เวลาไหน นาทีที่เท่าไหร่
ฝึกดูว่าจังหวะไหนเหมาะสมกับการเข้าไปเล่น จังหวะไหนควรรอ
ธรรมชาติของเวลาและการขึ้น การลง มักจะเกิดซ้ำๆให้เห็นบ่อยๆ
(โดยมองหลักความน่าจะเป็นควบตาม)

โดยเฉลี่ยระดับการวิ่งของกราฟที่ 30 นาทีวิ่งได้ตั้งแต่ 50 จุดขึ้นไปถึง 400 จุด โดยประมาณต้องดูให้ออกก่อนว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นเป็นแบบใหญ่ แบบเล็ก แบบย่อย ต่อหนึ่งรอบการวิ่ง
โดยการกินเวลาจะอยู่ระดับโดยเฉลี่ย 1 วันขึ้นไปแต่ไม่เกิน 5 วันต่อหนึ่งรอบการวิ่งของแบบแนวโน้มใหญ่ เล็กและย่อย


เริ่มต้นฝึกสังเกตธรรมชาติของกราฟระดับ H1

ดูธรรมชาติของจากเริ่มต้นไปถึงสุดทางวิ่งเท่าไหร่
ดูธรรมชาติของเวลาว่าการกินเวลาของช่วงเริ่มต้นไปจนสุดกินเวลาเท่าไหร่
ฝึกดูจังหวะพักตัวมักจะพักตัวที่เวลาไหน นาทีที่เท่าไหร่
ฝึกดูว่าจังหวะไหนเหมาะสมกับการเข้าไปเล่น จังหวะไหนควรรอ
ธรรมชาติของเวลาและการขึ้น การลง มักจะเกิดซ้ำๆให้เห็นบ่อยๆ
(โดยมองหลักความน่าจะเป็นควบตาม)

โดยเฉลี่ยระดับการวิ่งของกราฟที่ 1 ชั่วโมงวิ่งได้ตั้งแต่ 100 จุดขึ้นไปถึง 600 จุดโดยประมาณต้องดูให้ออกก่อนว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นเป็นแบบใหญ่ แบบเล็ก แบบย่อย ต่อหนึ่งรอบการวิ่ง
โดยการกินเวลาจะอยู่ระดับโดยเฉลี่ย 2 วันขึ้นไปแต่ไม่เกิน 6 วันต่อหนึ่งรอบการวิ่งของแบบแนวโน้มใหญ่ เล็กและย่อย




เริ่มต้นฝึกสังเกตธรรมชาติของกราฟระดับ H4

ดูธรรมชาติของจากเริ่มต้นไปถึงสุดทางวิ่งเท่าไหร่
ดูธรรมชาติของเวลาว่าการกินเวลาของช่วงเริ่มต้นไปจนสุดกินเวลาเท่าไหร่
ฝึกดูจังหวะพักตัวมักจะพักตัวที่เวลาไหน นาทีที่เท่าไหร่
ฝึกดูว่าจังหวะไหนเหมาะสมกับการเข้าไปเล่น จังหวะไหนควรรอ
ธรรมชาติของเวลาและการขึ้น การลง มักจะเกิดซ้ำๆให้เห็นบ่อยๆ
(โดยมองหลักความน่าจะเป็นควบตาม)

โดยเฉลี่ยระดับการวิ่งของกราฟที่ 4 ชั่วโมงวิ่งได้ตั้งแต่ 200 จุดขึ้นไปถึง 2500 จุดโดยประมาณต้องดูให้ออกก่อนว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นเป็นแบบใหญ่ แบบเล็ก แบบย่อย ต่อหนึ่งรอบการวิ่ง
โดยการกินเวลาจะอยู่ระดับโดยเฉลี่ย 5 วันขึ้นไปจนถึงระดับหนึ่งเดือนต่อหนึ่งรอบการวิ่งของแบบแนวโน้มใหญ่ เล็กและย่อย



เริ่มต้นฝึกสังเกตธรรมชาติของกราฟระดับ D1

ดูธรรมชาติของจากเริ่มต้นไปถึงสุดทางวิ่งเท่าไหร่
ดูธรรมชาติของเวลาว่าการกินเวลาของช่วงเริ่มต้นไปจนสุดกินเวลาเท่าไหร่
ฝึกดูจังหวะพักตัวมักจะพักตัวที่เวลาไหน นาทีที่เท่าไหร่
ฝึกดูว่าจังหวะไหนเหมาะสมกับการเข้าไปเล่น จังหวะไหนควรรอ
ธรรมชาติของเวลาและการขึ้น การลง มักจะเกิดซ้ำๆให้เห็นบ่อยๆ
(โดยมองหลักความน่าจะเป็นควบตาม)

โดยเฉลี่ยระดับการวิ่งของกราฟที่ 1 วันวิ่งได้ตั้งแต่ 500 จุดขึ้นไปถึง 3500 จุดโดยประมาณต้องดูให้ออกก่อนว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นเป็นแบบใหญ่ แบบเล็ก แบบย่อย ต่อหนึ่งรอบการวิ่ง
โดยการกินเวลาจะอยู่ระดับโดยเฉลี่ย 1เดือนขึ้นไปจนถึงระดับ 4 เดือนต่อหนึ่งรอบการวิ่งของแบบแนวโน้มใหญ่ เล็กและย่อย


ฝึกลากเส้นกราฟ

การวิเคราะห์ Forex ขั้นที่ 3 ฝึกลากรูปแบบต่างๆ
หลังจากที่ฝึกหัดการมองเทรนแนวโน้มให้อออกแล้ว ก็เริ่มไปฝึกการมองหา แนวรับ-แนวต้าน รู้จักกันดีแล้วก็เริ่มมองหาจังหวะเข้าซื้อ ขาย ฝึกกันบ่อยๆครับ มองหาให้เจอบ่อยๆ นานๆไปจะทำให้เรามองภาพได้เร็วขึ้นและมองหาจังหวะได้ดีกว่านักลงทุนคนอื่น

ต่อไปก็มารู้จักรูปแบบจากการใช้เส้น TRENDLINE ในการลากรูปแบบต่างๆ ที่ฝรั่งเค้าเรียกว่า Chart patterns เราจะมาฝึกลากรูปแบบแรก คือ SYMMETRICAL TRIANGLEเป็นรูปแบบสามเหลี่ยมที่สมดุลกัน ลักษณะจะลากเอียงขาขึ้นและขาลงได้เอียงพอๆ กัน (ดูจากในรูป) ในกรอบสามเหลี่ยมนั่นจะเห็นว่าเปิดกว้างแล้วค่อยๆ เล็กลงจนทำมุมเป็นสามเหลี่ยม เป็นการเล่นราคากันระหว่างแรงซื้อ และแรงขายที่ค่อยๆ บีบตัวจนเกิดรูปแบบดังกล่าว จนกว่าการบีบตัวในกรอบสามเหลี่ยมแคบลง โอกาสที่จะเกิดการระเบิดของราคาก็ยิ่งสูงขึ้น เมื่อทะลุกรอบสามเหลี่ยมได้ (break out) กราฟก็จะกลับมาวิ่งแรงอีกครั้ง (อธิบายแบบง่ายๆ คือ รอให้ราคาซื้อราคาขายวิ่งในกรอบสามเหลี่ยมจากกว้าง แล้วบีบตัวไปแคบทะลุได้เมื่อไหร่แล้วค่อยพิจารณา ซื้อ ขาย (การทะลุได้ คือการระเบิดที่เกิดจากการบีบตัวของราคาซื้อราคาขายนั่นเอง) )

Symmetrical triangle มีแบบ ขาขึ้น และ ขาลง
และยังสามารถหาเป้าหมาย(target)ของรูปแบบนี้ได้ เป็นเป้าหมายระยะสั้น(ใช้หลักความน่าจะเป็น) (ดูจากรูป)
พื้นฐานจากรูปแบบนี้มาจากการรู้จักเทรนขาขึ้น ขาลง ด้านข้าง ลากเป็นก็สามารถหารู้แบบนี้ได้ มักจะเกิดขึ้นให้เห็นบ่อยๆ






รูปแบบต่อคือ DESCENDING TRIANGLE ขาลง
เป็นรูปแบบสามเหลี่ยมที่สามารถลาก Trendline ได้เทรนขาลงหนึ่งเส้นแล้วลากเส้นตรงในแนวนอนได้อีกหนึ่งเส้น เมื่อลากสองเส้นนี้ได้แล้วก็คือกรอบสามเหลี่ยมของขาลง(descending triangle downtrend ) จากในรูปจะสังเกตุเห็นว่าเมื่อลากกรอบสามเหลี่ยมขาลงได้แล้วจะมีการบีบตัวในกรอบยิ่งแคบมากโอกาสที่จะระเบิดตัวของราคาลงต่อยิ่งมีโอกาสสูงมากขึ้น

ส่วนในกรอบสามเหลี่ยมขาลงนั่น จะสังเกตุเห็นของการลากเส้นตรง บางครั้งอาจจะการเกิด double bottom or triple bottom (false) หลอกเกิดขึ้นแล้วราคาดีดตัวลงไปต่อ จะเห็นว่าไม่ว่ารูปแบบและระบบอะไรก็ตามมักมีหลอกให้เห็นเสมอๆเราควรใช้เครื่องมือกรองกราฟหลายๆชั้นเพื่อพาจังหวะที่ดีที่สุดและผิดทางต้องกล้าที่ stop loss



รูปแบบต่อคือ ASCENDING TRIANGLE ขาขึ้น
เป็น รูปแบบสามเหลี่ยมที่สามารถลาก Trendline ได้เทรนขาขึ้นหนึ่งเส้นแล้วลากเส้นตรงในแนวนอน(ด้านบน)ได้อีกหนึ่งเส้น เมื่อลากสองเส้นนี้ได้แล้วก็คือกรอบสามเหลี่ยมของขาขึ้น(ascending triangle uptrend ) จากในรูปจะสังเกตุเห็นว่าเมื่อลากกรอบสามเหลี่ยมขาขึ้นได้แล้วจะมีการบีบตัว ในกรอบยิ่งแคบมากโอกาสที่จะระเบิดตัวของราคาขึ้นต่อยิ่งมีโอกาสสูงมากขึ้น

ส่วนในกรอบสามเหลี่ยมขาขึ้นนั่น จะสังเกตุเห็นของการลากเส้นตรง บางครั้งอาจจะการเกิด double top or triple top (false) หลอกเกิดขึ้นแล้วราคาดีดตัวขึ้นไปต่อได้



รูปแบบ WEDGES

มีด้วยกัน 2 แบบคือ FALLING WEDGES(เกิด bullish) แบ่งได้อีกสองรูปแบบคือ ในช่วงการเกิดของขาขึ้นและขาลง
RISING WEDGES(เกิด bearish) แบ่งได้อีกสองรูปแบบคือ ในช่วงการเกิดของขาขึ้นและขาลง

FALLING WEDGES(เกิด bullish)ของในช่วงขาขึ้นจะสามารถลากกรอบสามเหลี่ยมได้ในช่วงเทรนขาขึ้น(ช่วงพักตัวของเทรนขาขึ้น)เมื่อทะลุกรอบสามเหลี่ยมขึ้นไปต่อได้คือการเกิด break out ของ FALLING WEDGE IN AN UPTREND (BULLISH)แล้วจะวิ่งขึ้นไปต่อ

FALLING WEDGES(เกิด bullish)ของในช่วงขาลงจะสามารถลากกรอบสามเหลี่ยมได้ในช่วงเทรนขาลง(ช่วงพักตัวของปลายเทรนขาลง)เมื่อทะลุกรอบสามเหลี่ยมขึ้นไปต่อได้คือการเกิด break out ของ FALLING WEDGE IN A DOWNTREND(BULLISH)แล้วจะวิ่งเปลื่อนทิศจากขาลงไปเป็นขาขึ้น

RISING WEDGES(เกิด bearish)ของในช่วงขาขึ้นจะสามารถลากกรอบสามเหลี่ยมได้ในช่วงเทรนขาขึ้น(ช่วงพักตัวของปลายเทรนขาขึ้น)เมื่อทะลุกรอบสามเหลี่ยมลงมาได้คือการเกิด break out ของ RISING WEDGE IN AN UPTREND (BEARISH)แล้วจะวิ่งเปลื่อนทิศจากขาขึ้นไปเป็นขาลง

RISING WEDGES(เกิด bearish)ของในช่วงขาลงจะสามารถลากกรอบสามเหลี่ยมได้ในช่วงเทรนขาลง(ช่วงพักตัวของเทรนขาลง)เมื่อทะลุกรอบสามเหลี่ยมลงไปต่อได้คือการเกิด break out ของ RISING WEDGE IN A DOWNTREND (BEARISH) แล้วจะวิ่งลงไปต่อ






รูปแบบ RECTANGLES

มีรูปแบบด้วยกัน 2 แบบ คือ RECTANGLE UPTREND (เกิด bullish)
เป็นรูปแบบเส้นขนานกันสองเส้นในแนวโน้มขาขึ้น(ช่วงพักตัว)เมื่อลากกรอบเส้นขนานได้แล้วหลุดกรอบได้เกิด break out แล้วขึ้นต่อ


RECTANGLE DOWNTREND (เกิด bearish)
เป็นรูปแบบเส้นขนานกันสองเส้นในแนวโน้มขาลง(ช่วงพักตัว)เมื่อลากกรอบเส้นขนานได้แล้วหลุดกรอบได้เกิด break out แล้วลงต่อ





รูปแบบ FLAGS AND PENNANTS

รูปแบบ FLAGS จะเป็นรูปแบบ ธง(ขนานด้านข้าง)จะเกิดช่วงพักตัวของแนวโน้ม มี 2 แบบคือ

ขาขึ้น(uptrend)เมื่อเราลากเส้น trendlind ได้รูป ธง(แบบขนานด้านข้าง) ทะลุขึ้นไปได้เรียกว่า break out วิ่งขึ้นไปต่อ

ขาลง(downtrend)เมื่อเราลากเส้น trendlind ได้รูป ธง(แบบขนานด้านข้าง) ทะลุลงไปได้เรียกว่า break out วิ่งลงไปต่อ


รูปแบบ PENNANTS จะเป็นรูปแบบ ธงสามเหลี่ยม จะเกิดช่วงพักตัวของแนวโน้ม มี 2 แบบคือ

ขาขึ้น(uptrend)เมื่อเราลากเส้น trendlind ได้รูป ธงสามเหลี่ยม ทะลุขึ้นไปได้เรียกว่า break out วิ่งขึ้นไปต่อ

ขาลง(downtrend)เมื่อเราลากเส้น trendlind ได้รูป ธงสามเหลี่ยม ทะลุลงไปได้เรียกว่า break out วิ่งลงไปต่อ






รูปแบบ HEAD AND SHOULDERS

head and shoulders pattern นั่นจะมี หัว และ ไหล่(ด้านซ้ายและขวา) จะมี head and shoulders ของขาขึ้น และ ขาลง

ส่วนใหญ่จะเรียก head and shouldersขาขึ้นว่า หัวตั้ง(ด้านบน) เมื่อเกิดแบบนี้แล้วจะเป็นการกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลงแรงๆเสมอ ลักษณะนี้จะมี หัวอยู่บนสุด และไหล่ทั้งซ้ายและขวาต้องไม่สูงกว่าหัว ถึงจะเรียกว่า head and shoulders(หัวตั้งด้านบน) เมื่อเกิดแล้วต้องสามารถลากเส้น neckline ได้เพื่อ confirm การลง


ส่วน head and shouldersขาลง เรียกว่าหัวกลับ(ด้านล่าง) เมื่อเกิดแบบนี้แล้วจะเป็นการกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้นแรงๆเสมอ ลักษณะนี้จะมี หัวอยู่ล่างสุด และไหล่ทั้งซ้ายและขวาต้องไม่สูงกว่าหัว ถึงจะเรียกว่า head and shoulders(หัวกลับด้านล่าง) เมื่อเกิดแล้วต้องสามารถลากเส้น neckline ได้เพื่อ confirm การขึ้น


ที่สำคัญ หัวต้องอยู่สุงและต่ำกว่าไหล่เสมอๆ ไม่ว่าจะมีไหล่ขวากี่ครั้ง ไหล่ซ้ายกี่ครั้ง แต่หัวต้องสูงกว่าและต่ำกว่าเสมอๆ ถึงจะเรียกว่า head and shouldersของขาขึ้น ขาลงนั่นๆ





รูปแบบ Triple top และ Triple bottom

Triple top ลักษณะจะเกิดการทำราคาดีดตัวไปชน แนวต้านที่เดียวกันถึง 3 ครั้ง พยายามทะลุขึ้นไปต่อไม่ได้ก็จะเกิดการกลับตัวลงอย่างแรงจนทะลุเส้น neckline ลงต่อไปได้ก็จะเป็นการเกิด Triple top เพื่อกลับตัวเป็นขาลง

Triple bottom ลักษณะจะเกิดการทำราคาดีดตัวไปชน แนวต้านที่เดียวกันถึง 3 ครั้ง พยายามทะลุลงไปต่อไม่ได้ก็จะเกิดการกลับตัวขึ้นอย่างแรงจนทะลุเส้น neckline ขึ้นต่อไปได้ก็จะเป็นการเกิด Triple top เพื่อกลับตัวเป็นขาขึ้น