วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ทฤษฎีดาว(Dow Theory) ตอนที่ 1

 ทฤษฎีดาว ( Dow Theory)


ทฤษฎีดาว (Dow Theory) ถูกคิดค้นขึ้นโดย Charles Henry Dow ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งการวิเคราะห์ทางเทคนิค เมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว แต่กฏและหลักการของดาว ยังคงใช้ได้ตราบจนถึงปัจจุบัน แต่หลักการนี้มิได้พูดถึงเพียงการวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือ การเคลื่อนที่ของราคาหุ้น แต่สิ่งนี้ถือเป็นปรัชญาของตลาดหุ้น ที่อิธิบายถึงพฤติกรรมของตลาดหุ้นที่ยังคงเหมือนเดิม เกิดขึ้นซ้ำๆ เฉกเช่นเดียวกัน เมื่อตลาดหุ้นเมื่อ 100 ปี ที่แล้ว
ดาวได้พัฒนาการวิเคราะห์ตลาดหุ้นจนเกิดทฤษฎ๊ในช่วงปลายศตวรรตที่ 19 จนกระทั่งเขาได้เสียชีวิตในปี 1902 ซึ่งเขาเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของและเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ The wall street journal แม้ว่าเขาไม่ได้เขียนหนังสือของตัวเองก็ตาม แต่เขาก็ได้เป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือหลายเล่มในการการให้ความเห็นด้านการเก็งกำไรและกฎ Industrial average
หลังจากที่ดาวได้เสียชีวิตแล้ว ก็มีหนังสือที่อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีของเขามากมาย เช่น The ABC of stock speculation , The stock market barometer
ทฤษฎีดาว (Dow Theory)

ทฤษฎีดาว (Dow Theory)


ตลาดขาขึ้น-ขั้นที่ 1 - สะสม


ฮามิลตัน(Hamilton) กล่าวไว้ว่าในช่วงแรกของตลาดขาขึ้นมักจะไม่แตกต่างจากตลาดในช่วงขาลงแต่คนใหญ่ยังมองในแง่ลบและทำให้แรงซื้อยังคงชนะแรงขายในช่วงแรกของขาขึ้น ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ไม่มีใครถือหุ้นประกอบกับไม่มีข่าวดีทำให้ราคาประเมินของหลักทรัพย์ถึงจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาเช่นนี้เป็นช่งงที่ผู้ที่ลงทุนอย่างฉลาดจะเริ่มสะสมหุ้นและเป็นช่วงที่ผู้ทีมีความอดทนและใจเย็นพอที่จะเห็นประโยชน์ของการเก็บหุ้นไว้จนกระทั่งราคาดีดกลับ บางครั้งหุ้นมีราคาถูกแต่กลับไม่มีใครต้องการ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ วอเร็นบัฟเฟตได้กล่าวไว้ในช่วงฤดูร้อนของปี 1974 ว่าตอนนี้ได้เวลาที่จะซื้อหุ้นแล้ว แต่ก็ไม่มีใครเชื่อ ในระยะแรกของตลาดขาขึ้น ราคาหุ้นจะเริ่มเข้าใกล้จุดต่ำสุด แล้วค่อยๆยกตัวขึ้น และเป็นการเริ่มต้นของขาขึ้น หลังจากที่ตลาดยกตัวสูงขึ้นและดิ่งกลับลงมา จะมีแรงขายออกมาเป็นการบอกว่าขาลงยังไม่สิ้นสุด ในช่วงนี้เองที่จะต้องวิเคราะห์อย่างระมัดระวังว่าการปรับตัวลงมีนัยยะสำคัญหรือไม่ หาไม่มีนัยยะสำคัญ จุดต่ำสุดของการลงจะยกตัวสูงขึ้นจากจุดต่ำสุดเดิม สิ่งที่ตามมาคือตลาดตะเริ่มสะสมตัวและมีการแกว่งตัวน้อย หลังจากนั้นจึงเริ่มปรับตัวสูงขึ้นและหากราคาเคลื่อนที่ขึ้นเหนือจุดสูงสุดเดิม จะเป็นการยืนยันการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้น

ตลาดขาขึ้น -ขั้นที่ 2 -การเคลื่อนไหวครั้งยิ่งใหญ่


ขึ้นที่ 2 มักจะเป็นช่วงที่มีระยะเวลานานที่สุด และมีการปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุด ระยะเวลานี้จะเป็นช่วงที่กิจการต่างๆกำลังเริ่มฟื้นตัวมูลค่าหลักทรัพย์จะเพิ่มขึ้น รายได้และกำไรเพิ่มขึ้นจึงก่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น ช่วงนี้จึงถือว่าเป็นข่วงที่สามารถทำกำไรได้ง่ายที่สุด เพราะมีผู้เข้ามาลงทุนตามแนวโน้มของตลาดมากขึ้น

ตลาดขาขึ้น -ขึ้นที่ 3 - เกินมูลค่า


ระยะที่ 3 ของตลาดขาขึ้น เป็นระยะที่มีการเก็งกำไรมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะตลาดเฟ้อ (ดาวได้คิดทฤษฎีนี้ขึ้นมาเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน แต่เหตการณ์เช่นนี้ยังคงเป็นเรื่องที่คุ้นเคยในปัจจุบัน) ในขั้นสุดท้ายนี้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในตลาด ค่าที่ประเมินสูงเกินไป และความมั่นใจมีมากจนเกินปกติ จึงเป็นช่วงที่เรียกได้ว่าเป็นส่วนกลับของขั้นที่ 1

ตลาดขาลง - ขั้นที่ 1 - กระจาย


เมื่อการสะสมเป็นขั้นที่ 1 ของขาขึ้น การกระจายก็คือขั้นแรกของขาลง นักลงทุนที่ฉลาดจะไหวตัวทันว่า ธุระกิจต่างๆในปัจจุบันไม่ได้ดีอย่างที่เคยคิด และเริมขายหุ้นออกแต่คนอื่นๆยังคงอยู่ในตลาดและพอใจในการซื้อที่ราคาที่สูง จึงเป็นการยากที่จะบอกว่าตลาดกำลังเข้าสู่ขาลง อย่างไรก็ตาม จุดนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการกลับตัว เมื่อตลาดปรับตัวลง คนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าตลาดเข้าสู่ขาลงและยังมองตลาดในแง่ดีอยู่ ดังนั้นเมื่อตลาดปรับตัวลงพอประมาณ จึงมีแรงซื้อกลับเข้ามาเล็กน้อย ฮามิลตันกล่าวว่าการกลับตัวขึ้นในช่วงขาลงนี้จะค่อยข้างรวดเร็วและรุนแรง ดังเช่นที่ฮามิลตันได้วิเคราะห์ไว้เกี่ยวกับการกลับตัวที่ไม่มีนัยยะสำคัญนี้ ว่าส่วนที่ขาดทุนไปจะได้กลับคืนมาในระยะเวลาเพียงไม่กี่วันหรือสัปดาห์ การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วเช่นนี้เป็นการตอกย้ำว่าขาขึ้นของตลาดยังไม่สิ้นสุด อย่างไรก็ตาม จุดสูงสุดใหม่จะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม และหลังจากนั้น หากราคาสามารถทะลุผ่านจุดต่ำสุดเดิม นั่นเป็นการยืนยันถึงขั้นที่ 2 ของตลาดขาลง

ตลาดขาลง - ขั้นที่ 2 - การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่


เช่นเดียวกับตลาดในขาขึ้น ขั้นที่ 2 เป็นขั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคามากที่สุด ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่แนวโน้มเด่นชัดและกิจการต่างๆเริ่มถดถอย ประมาณการรายได้และกำไรลดลง หรืออาจขาดทุน เมื่อผลประกอบการแย่ลง แรงายจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ตลาดขาลง - ขั้นที่ 3 - สิ้นหวัง


ณ จุดสูงสุดของตลาดขาขึ้น ความดาดหวังมีมากจนถึงขั้นมากเกินไปในตลาดขาลงขั้นสุดท้าย ความคาดหวังทั้งหมดหายไป มูลค่าที่ประเมินต่ำมาก แต่ยังคงมีแรงขายอย่างต่อเนื่องเพราะทุกคนในตลาดพยายามจะถอนตัวออก เมื่อข่าวร้ายเกี่ยวกับธุรกิจ มุมมองทางเศรษฐกิจตกต่ำ จึงไม่มีใครต้องการซื้อ ตลาดจะยังคงลดต่ำลงจนกระทั่งข่าวร้ายทั้งหมดได้ถูกซึมซับแล้ว เมื่อราคาสะท้อนถึงผลกระทบจากเหตการณ์ไม่ดีต่างๆแล้ว วัฏจักรก็เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง

บทสรุปของทฤษฎีดาว(Dow Theory)


จุดประสงค์ของดาวและฮามิลตัน คือ การหาจุดเริ่มต้นของแนวโน้มและสามารถจับการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ได้ พวกเขารู้ดีว่าตลาดถูกขับเคลื่อนโดยอารมณ์ของตลาดและการเกิดปฏิกิริยาเกิน (Overreaction) จริง ทั้งในด้านบวกและด้านลบ พวกเขาจึงมุ่งความสนใจไปที่การมองหาแนวโน้มในการเคลื่อนไหวไปดามแนวโน้ม แนวโน้มจะยังคงอยู่จนกระทั่งจะสามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดถึงแนวโน้มใหม่
ทฤษฎีดาวช่วยให้นักลงทุนเรียนรู้ข้อเท็จจริง ไม่ใช่ตั้งข้อสมมติฐานและคาดการณ์ล่วงหน้า การตั้งข้อสมมติฐานเป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับนักลงทุน เพราะการคาดเดาของตลาดเป็นเรื่องยาก ฮามิลตันเองยอมรับว่าทฤษฎีดาวนี้ไม่ได้สมบูรณ์แบบ ในขณะที่ทฤษฎีนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ ทฤษฎีนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการพัฒนาแนวทางการวิเคราะห์ของนักลงทุน
การอ่านเกมส์ตลาดเป็นศาสตร์ที่ได้จากประสบการณ์ตรงจากตลาด ดังนั้นกฏของฮามิลตันและดาวจึงมีข้อยกเว้นพวกเขามีความเชื่อว่าความสำเร็จเกิดจากการศึกษาที่จริงจังและการวิเคราะห์ที่มีทั้งความสำเร็จและความผิดพลาด ความสำเร็จเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าหลงระเริง ขณเดียวกัน ความผิดพลาด ถึงแม้จะเจ็บปวด แต่จะให้บทเรียนที่มีค่า การวิเคราะห์ทางเทคนคเป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่งสามารถพัฒนาได้โดยการฝึกฝนเรียนรู้จากความสำเร็จและล้มเหลวด้วยการมองไปข้างหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น