วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

EUR/USD วิเคราะห์กราฟ FOREX ศุกร์ 22 พฤศจิกายน 2562




ข่าวแดงที่น่าสนใจตามเวลาประเทศไทย

แนวโน้มกราฟ  H1=ขาขึ้น
แนวโน้มกราฟ  H4=ขาลง
แนวโน้มกราฟ  Day=ขาลง
แนวโน้มกราฟ  Week=ขาลง
แนวโน้มกราฟ  Month=ขาลง

***แนวสำคัญของกราฟประจำวันมีดังนี้ครับ***

ราคาปัจจุบัน=1.1061
Daily Pivot=1.1071
Fibo 50 Daily=1.1074

Resistance - แนวต้าน   Support - แนวรับ
R1=1.1085S1=1.1040
R2=1.1125S2=1.1015
R3=1.1150S3=1.0980
R4=1.1175S4=1.0950
R5=1.1215S5=1.0910

   
                  สวัสดีเช้าวันศุกร์ นะครับ หลังจาก ทั้ง 4 วันที่ผ่านมากราฟยัง Sideway อย่างหนัก เหมือนเดิม เพิ่มเติม ก็คือ ไม่มีแนวโน้มอะไรที่ชัดเจน จริงๆ อาจจะรอข่าวแดงวันนี้ก็ได้ นะครับ อาจจะเป็นวันแดงเดือดอะไรสักอย่างของข่าวที่ จะมากระชากความรู้สึก และอะดรีนาลีนของท่านให้พุ่งพล่านได้ในวันนี้เนื่องจาก ข่าวในตารางที่ มากันแดงเถือก พอๆกับแดงเดือด แมนยู-ลิเวอร์พูล ไหน ความหวังของหมู่บ้านที่ ข่าวนอกตารางมักจะออกมาถี่หน่อย ก็ช่วงวันศุกร์อีกทำให้วันนี้บอกเลยได้ลุ้นหนักมากว่ากราฟจะวิ่งแรงๆไปทางไหน ดังนั้นสำหรับ วันนี้เตรียมตัวรับ After Shock ระดับแผ่นดินไหว เอ๊ย Balance ในพอร์ตอาจจะถูกฉุดกระชากลากถูในแบบ ลบๆ บวกได้ นะครับ โดยหลักๆวันนี้ส่วนมากจะเป็น ข่าว PMI ของ EUR GBP และ CAD สำหรับ สาย Snow Ball วันนี้ นำเสนอ CAD นะครับ USDCAD ถ้าอยากจัดบอกเลย น่าจัดชั่วโมงนี้ ถ้ากราฟวิ่งกับข่าวไม่มีคู่ไหน วิ่งดีเท่า CAD อีกแล้ว ดังนั้น วางแผนกันให้ดี ครับผม สำหรับแนวโน้มกราฟ EU วันนี้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง มาลุ้นกัน เลยครับ

                     แนวโน้มกราฟ EU วันนี้บอกเลยว่าเดือด ไม่แพ้กับข่าวแดงเลยทีเดียว ครับ จากกราฟทางเทคนิคที่เมื่อวานจะขึ้นก็ไม่ขึ้นแถมยังวิ่งลงมาทำ Daily Low อีกและตอนนี้เกิด Divergence ที่ H1 ในแบบที่ เกิดสัญญานการพักตัวลงให้เห็นชัดเจนอาการเดียวกับทองคำเมื่อคืนนะครับที่ วิ่งกันตอนดึกแล้ว แอดมิน ออกsignal ให้ Sell 1470 แต่กราฟดีดกลับไปได้เพียง 1469 เท่านั้นก่อนที่จะลงมา 1463 สำหรับเช้านี้ดังนั้น กราฟ EU วันนี้จาก Divergence นะครับ ตามรูปที่ 1 กราฟน่าจะ Swing ไปที่ Pivot ให้ Sell ก่อน นะครับ และน่าจะลงมาพักตัวประมาณ 1.1020 ก่อนที่จะกลับตัวขึ้นไป และก็ได้ลุ้นระยะยาว ครับเพราะ เป็น Divergence ซ้อน Divergence อีกชั้นหนึ่ง นะครับ ระยะยาวกราฟน่าจะกลับขึ้นไปด้านบนได้อยู่นะครับแต่ ตอนนี้ หาจังหวะเข้า Sell ก่อนครับแล้วจากนั้นหาจังหวะ Buy ขึ้นมาจากเป้าหมาย

                   แต่อย่างไรก็ตาม Signal Sell วันนี้ Stop loss จะสั้นหน่อยนะครับ เนื่องจากหากกราฟ สามารถทำ New high ได้กราฟจะ Breakout ขึ้นไปด้านบนนะครับดังนั้น วันนี้จะเห็นว่า มี Signal Buy Stop ด้วย และ Stop loss สำหรับขา Sell เพียง 26 pips เท่านั้น ครับ ผม
                 
                   โดยรวมสำหรับแผนการเทรดวันนี้จะเป็นการเทรดระยะสั้น นะครับ แต่ระยะยาว แอดมิน ยังมองว่ากราฟจะกลับขึ้นไปสูงได้อยู่นะครับ จาก การที่กราฟ พักตัวได้ จากแนว Fibo ของรอบใหญ่ และจากการที่กราฟนั้น ยังเป็น Down Theory ขาขึ้นอยู่นะครับ ดังนั้น ในระยะยาว ยังมีโอกาศที่จะขึ้นต่อได้อีกครับผม

                 
   
TypePriceSLTP1TP2
Signal 1Sell Limit1.10701.10961.10351.1020
Signal 2Buy Stop1.11001.10501.11501.1210

การวิเคราะห์ Forex จากค่าย Trading Central














รูปแบบแท่งเทียนที่พบบ่อย (Candlestick Pattern) ตอนที่ 6

ในบทความนี้ยังคงพูดถึงแท่งเทียนที่เป็นรูปแบบของ Bearish Candlestick Pattern รูปแบบแท่งเทียนทีบ่งบอกการเปลี่ยนแปลงจากแนวโน้มขาขึ้นเป็นแนวโน้มขาลง

Bearish Harami Cross 
ลักษณะของแท่งเทียนประเภทนี้จะมีแท่งไม้กางเขนหรือเครื่องหมายบวกอยู่ระหว่างกลางของแท่งเทียนขาขึ้นที่มีขนาดใหญ่ในช่วงก่อนหน้านั้น บ่งบอกถึงกำลังซื้อของนักลงทุนในเวลานั้นเบาบางลง และมีแรงขายเข้าในระ
ดับหนึ่ง ทำให้แท่งเที่ยนมาเปิดที่ตรงกลางแท่ง  ราคาปิดและราคาเปิดของแท่งเทียนในรูปแบบนี้จะเท่ากัน เพราะยังไม่สามารถที่จะเลือกทิศทางได้ ต้องดูที่ขนาดของหางแท่งเทียนอีกที หากหางด้านบนของแท่งเทียนมีความยาวมากกว่าด้านล่าง นั่นหมายความว่า แรงขายมีมากกว่าแรงซื้อ แต่หากหางด้านล่างมีมากกว่าด้านบน แสดงว่า แรงซื้อยังเยอะอยู่ วิธีการเทรดกับรูปแบบของแท่งเทียนประเภทนี้ ต้องรอให้เกิดสัญญาณขาลงจากแท่งเทียนอีกแท่ง จึงจะตัดสินใจทำกำไรในทิศทางขาลง



Dark Cloud Cover
รูปแบบนี้พบบ่อยในกราฟทั่วไป และจะมีความสำคัญมากในกราฟที่อยู่ในไทม์เฟรมสูงๆ ลักษณะของแท่งเทียนประเภทนี้คือ จะมีแท่งสีดำลงมากลืนกินเกินระยะครึ่งแท่งของแท่งเทียนก่อนหน้านั้น บ่งบอกถึงแรงขายที่กำลังมหาศาล กำลังจะเกิดกับตลาด ให้นักลงทุนระวังการกลับตัวจากแนวโน้มขาขึ้นเป็นขาลง รูปแบบนี้จะค่อนข้างใช้ได้ผลกับกราฟในตลาดฟอเร็กซ์ เพราะให้สัญญาณที่ชัดเจน และสามารถใช้เป็นสัญญาณยืนยันร่วมกับรูปแบบแท่งเทียนอื่นๆได้






Bearish Engulfing
ลักษณะของแท่งเทียนในรูปแบบนี้ จะมีแท่งเทียนขาลงที่มีแรงขายเยอะมาก จนสามารถครอบคลุมหรือกลืนกินแท่งเทียนก่อนหน้านั้นที่เป็นแท่งเทียนขาขึ้น  รูปแบบนี้พบบ่อยในกราฟทั่ว ไป และเป็นรูปแบบที่ใช้ได้ผลมากๆ ถ้าให้ผมเทียบระดับความแม่นยำ รูปแบบนี้ถือว่าเป็นรุปแบบการกลับตัวที่มีความแม่นยำมากที่สุด   รูปแบบของแท่งเทียนประเภทนี้สามารถใช้เป็นสัญญาณยืนยันให้กับรูปแบบแท่งเทียนอื่นๆได้  หากเจอรูปแบบนี้ เข้าได้เทรดได้เลยครับ

รูปแบบแท่งเทียนที่พบบ่อย (Candlestick Pattern) ตอนที่ 5

ในบทความนี้จะกล่าวถึงรูปแบบแท่งเทียนที่เป็น Bearish Candlestick ซึ่งแสดงถึงรูปแบบของแท่งเทียนที่แสดงการกลับตัวจากแนวโน้มขาขึ้นเป็นแนวโน้มขาลง (Downtrend)

Gravestone Doji
รูปแบบของ Gravestone เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของแท่งเทียนแบบ Doji  ลักษณะของแท่งเทียนจะเป็นคล้ายๆกับตัวอักษร T คว่ำหัวลง ความหมายของราคาคือ มีแรงขายมากกว่าแรงซื้อในช่วงท้ายๆของตลาด และทำให้ราคาปิดมาปิดที่ราคาต่ำสุดพอดี จึงกลายเป็นรูปแบบของ Gravestone Doji หากเจอรูปแบบนี้ ให้พิจารณาคำสั่ง Buy ที่เปิดไว้ เพราะตลาดอาจจะเกิดการพักตัวก่อน การกลับตัวจะยังไม่เกิดในรูปแบบนี้ จะต้องรอการยืนยันจากแท่งเทียนถัดไป แต่หากหางของแท่ง Gravestone Doji มีความยาวมากๆ ก็อาจจะเกิดการเปลี่ยนแนวโน้มไปเลยก็ได้





Hanging Man
เมื่อราคาขึ้นมาเรื่อยๆ จนเรามองว่า แรงซื้อในตลาดเริ่มอ่อนแรงลงจนมีแรงขายเข้ามาในบางช่วงเวลา ลักษณะของแท่งจะมีตัวแท่งเล็กๆอยู่ด้านบน และจะมีหางของแท่งอยู่ด้านล่าง ซึ่งความยาวของหางด้านล่างจะยาวประมาณ 2-3 เท่าของตัวแท่ง อาจจะเป็นสีขาวหรือสีดำก็ได้ (ราคาปิดอาจจะอยู่เหนือราคาเปิด หรือราคาปิดอาจจะอยู่ต่ำกว่าราคาเปิด) ความหมายของ Hanging Man คือ ราคาอาจจะมีการกลับตัวจากแนวโน้มขาขึ้นเป็นขาลง หรือมีการพักตัวเกิดขึ้น




Bearish Harami
ลักษณะของแท่งเทียนประเภทนี้จะเป็นแท่งสีดำเล็กๆซึ่งมีแรงขายเพียงเล็กน้อยๆ เกิดอยู่ในระหว่างแท่งสีขาวซึ่งมีแรงซื้อเยอะมาก รูปแบบนี้บ่งบอกถึงการพักตัวของแนวโน้มขาขึ้น  ต้องรอการยืนยันจากแท่งเทียนถัดไป

รูปแบบแท่งเทียนที่พบบ่อย (Candlestick Pattern) ตอนที่ 4

รูปแบบสภาวะตลาดขาลง ( Bearish Pattern)
ในบทความนี้ ผมจะพูดถึงรูปแบบแท่งเทียนในสภาวะหมี (Bearish) หรือสภาวะตลาดขาลง รูปแบบแท่งเทียนที่เป็น Bearish Pattern จะเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะตลาดขาขึ้นเป็นตลาดขาลง หรือเปลี่ยนจากสภาวะการปรับตัวขึ้นในแนวโน้มขาลงแล้วลงต่อ  ซึ่งเราสามารถใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ทีบ่งบอกสภาวะที่มีแรงซื้อเยอะเกินไป Overbought ได้ อย่างเช่น RSI และ Stochatic

Long Black Candlestick
แท่งเทียนในลักษณะนี้จะมีลักษณะเป็นแท่งขาลงยาวๆ ซึ่งบ่งบอกถึงแรงขายที่มีเข้ามาอย่างมหาศาล เราอาจจะใช้แทนเป็นแท่งสีดำหรือเป็นแท่งสีแดงก็ได้ เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสภาวะตลาดขาลง  ราคาเปิดและราคาปิดของแท่งเทียนจะอยู่ห่างกันมา  ราคาสูงสุดและราคาเปิดจะอยู่ใกล้กันและราคาต่ำสุดกับราคาปิดจะอยู่ใกล้กัน  หากเราเจอแท่งเทียนในลักษณะนี้อย่าสวนเด็ดขาด ไม่งั้นอาจจะติดดอยได้  Long Black Candlestick มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Bearish Strong move เจอเมื่อไหร่ เทรนขาลงมาทันที




Long Upper Shadow
แท่งเทียนในลักษณะนี้จะมีตัวแท่งเป็นสีขาวหรือสีดำก็ได้ แต่ลักษณะเด่นที่สำคัญคือ มีหางของแท่งเทียนอยู่ด้านบน และมีขนาดยาวกว่าตัวแท่งประมาณ 2-3 เท่า  ความหมายของแท่งนี้คือ จะมีแรงซื้อขายในช่วงแรกสูงมาก แต่เมื่อใกล้จะปิดแท่ง จะมีแรงขายมากกว่าแรงซื้อ จึงทำให้ราคาลงมาปิดใกล้กับจุดต่ำสุด หากเจอแท่งเทียนลักษณะนี้ให้เข้า Sell ได้ทันที หรืออาจจะเป็นสถานะ Buy ก่อน เพราะอาจจะบ่งบอกการพักตัว





Shooting Star
แท่งเทียนลักษณะนี้จะคล้ายๆแท่งเทียนด้านบน จะเป็นสีขาวหรือสีดำก็ได้ แต่จะมีหางของแท่งเทียนที่ยาวมากๆ และจะเกิดขึ้นระยะเวลาอันสั้น Shooting Star มักจะเกิดตอนใกล้จบแท่งหรือใกล้จบชั่วโมง หรือใกล้จบวัน และจะเกิดในระยะเวลาที่สั้นมาก จะมีแรงขายเข้ามาก่อนเปลี่ยนแท่งหรือสิ้นสุดวัน
หากเราเจอแท่งเทียนลักษณะนี้ก็คาดเดาได้เลยว่า ราคาน่าจะกลับตัวแล้ว ให้หาจังหวะเข้าออเดอร์ในทิศทางขาลงได้ทัน หรือหากถือออเดอร์ในทิศทางขาขึ้นไว้ ให้ออกโดยทันที

รูปแบบแท่งเทียนที่พบบ่อย (Candlestick Pattern) ตอนที่ 3

รูปแบบแท่งเทียนในตอนที่ 3 นี้เป็นตอนสุดท้ายของแท่งเทียนแบบBullish เป็นแท่งเที่ยนที่บ่งบอกลักษณะของแท่งเทียนขาขึ้น  เรามาต่อกันเลยครับ 

Bullish Engulfing 
แท่งเทียนในรุปแบบนี้จะประกอบด้วย แท่งเทียนที่เป็นแท่งขาลงที่มีแรงขายมาก และแท่งเทียนขาขึ้นที่มีซื้อกลับเข้ามาเป็นจำนวนมากกว่าแรงซื้อ จึงทำให้ลักษณะของแท่งเทียนขาขึ้นกลืนกินแท่งเทียนที่ลงมาทั้งหมด  หากเราเจอแท่งเทียนในลักษณะนี้ในแนวโน้มขาลง ให้ออกออเดอร์เซลก่อน เพราะตลาดอาจจะมีการกลับตัวจากแนวโน้มขาลงเป็นแนวโน้มขาขึ้น  หากเจอแท่งเทียนลักษณะนี้ในแนวโน้มขาขึ้น ให้หาจังหวะเข้า BUY ทันทีเพราะมันเป็นสัญญาณที่ยืนยันความเป็นแนวโน้มขาขึ้น โอกาสพลาดน้อยมากๆ Win Ratio สูงครับ สำหรับรูปแบบ Bullish Engulfing 





Morning Star 
รูปแบบนี้จะประกอบไปด้วยแท่งเทียนทั้งหมด 3 แท่ง ซึ่งจะเป็นสภาวะการเปลี่ยนแปลงจากตลาดขาลงเป็นตลาดขาขึ้น หรืออาจจะเปลี่ยนจากตลาดขาลงเป็นการพักตัวในช่วงขาลง ซึ่งจะต้องดูจากพฤติกรรมของราคา ณ ช่วงเวลานั้น  แท่งเทียนแท่งแรกจะเป็นแท่งขาลงที่แรงขายเยอะมาก และจากนั้นจะแรงซื้อกลับเข้ามาเล็กน้อยในแท่งเทียนแท่งที่สอง   สุดท้าย แท่งเทียนแท่งที่ 3 จะเป็นการยืนยันแรงซื้อจากแท่งที่สอง สัญญาณนี้มาช้าแต่ชัวร์ แนะนำให้ดูที่ไทม์เฟรม 1 วันขึ้นไป เพราะจะให้ความแม่นยำสูงมาก  โดยส่วนใหญ่จะบ่งบอกการกลับตัวจากแนวโน้มขาลงเป็นแนวโน้มขาขึ้น  


Morning Doji Star 
รูปแบบนี้จะคล้ายรูปแบบของ Morning Star แต่จะแท่งที่สองจะเป็นเครื่องไม้บวก หรือไม้กางเขน บ่งบอกถึงแรงซื้อและแรงขายในแท่งที่สองเกือบเท่ากัน จึงทำให้ราคาเปิดและราคาปิดมาปิดที่ราคาเดียวกัน หากหางด้านล่างของแท่งที่สองมีความยาวสูงมาก จะเป็นการยืนยันการกลับตัวที่ชัดเจน สามารถเข้าเทรดหลังจากจบแท่งที่สองได้เลย แต่หากความยาวของหางของแท่งที่สองมีขนาดสั้นมาก ต้องรอสัญญาณยืนยันจากแท่งที่สามก่อน จึงจะสามารถเข้าเทรด Buy ได้  สัญญาณ Morning Doji Star ใช้เพื่อบ่งบอกการกลับตัวจากตลาดขาลงเป็นตลาดขาขึ้น ความแม่นยำสูงมาก หากใช้กับไทม์เฟรมสูงๆ อย่างเช่น Daily time frame 


Three White Soldiers 
รูปแบบนี้มีชื่อไทยๆว่าสามทหารเสือ หากเจอสามแท่งนี้เมื่อไหร่ เราสามารถคาดการณ์ได้เลยว่า ราคามีการกลับตัวแน่นอน เพราะได้รับการยืนยันจากแท่งเทียนที่เป็นแนวโน้มขาขึ้นถึงสามแท่ง ลักษณะที่สำคัญของรูปแบบนี้คือ ในช่วงของตลาดขาลงจะมีแรงขายอย่างต่อเนื่อง จากนั้นจะค่อยๆมีแรงซื้อกลับเข้ามาเรื่อยๆ เข้ามาทีละแท่ง โดยลักษณะของแท่งจะเป็นการเปิดและการปิดของราคาที่ต่อเนื่องกัน และไม่ค่อยมีแรงขายเกิดขึ้นในช่วง 3 แท่งนี้ จึงเป็นที่มาของรูปแบบ Three white soldiers  สามทหารเสือนั่นเอง 


รูปแบบแท่งเทียนที่พบบ่อย (candlestick Pattern) ตอนที่ 2

สำหรับตอนที่ 2 สำหรับเรื่องของแท่งเทียนยังคงเป็นแท่งเทียนในหัวข้อ Bullish Candlesticj Pattern หรือ รูปแบบของแท่งเทียนขาขึ้น

Bullish Harami 
รูปแบบนี้จะมีลักษณะเป็นแท่งเทียนขาขึ้นเล็กๆ อยู่ตรงกลางแท่งเทียนขาลงที่ถูกเทขายลงมาอย่างหนัก จากนั้นก็มีแรงซื้อกลับเข้ามาทันที แรงซื้อดังกล่าวมีปริมาณที่มาก ทำให้ราคาปิดของแท่งขาลง กับราคาเปิดของแท่งขาขึ้นไม่ตรงกัน จึงทำให้แท่งเทียนที่เป็น harami ไปอยู่ตรงกลาง  หากเจอกราฟลักษณะนี้ในแนวโน้มขาลง ให้ออกออเดอร์ที่เข้า Sell ไว้ และหาจังหวะ Buy  และหากเจอกราฟลักษณะนี้ในแนวโน้มขาขึ้น ให้หาจังหวะ Buy ได้ทันที






Bullish Harami Cross   
รูปแบบนี้จะมีลักษณะของแท่งเทียนเป็นเหมือนรูปโดจิ เหมือนไม้กางแขน หรือเครื่องหมายบวก เล็กๆอยู่ตรงกลางของแท่งขาลง บ่งบอกถึงความอ่อนแรงของตลาดขาลงและมีแรงซื้อกลับจากนักลงทุน  ความหมายของแท่งเทียนในลักษณะนี้จะคล้ายๆกับ Bullish Harami



Piercing  Pattern 
รูปแบบนี้จะเป็นรูปแบบการกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้น เราจะพบว่าแท่งเทียนที่เป็นสีดำขาลงจะมีขนาดยาวและมีแรงขายเยอะมากๆ จากนั้นแท่งสีขาวยังมีราคาเปิดต่ำกว่าแท่งสีดำ นั่นหมายความว่า ในตอนแรกนั้น แรงขายยังคงมีมาเรื่อยๆ แต่เมื่อใกล้ตลาดปิดหรือใกล้ครบช่วงเวลาที่กำหนด ตลาดจะมีแรงซื้อกลับเข้ามาอย่างมหาศาล แรงซื้ออาจจะกลับมาใกล้เคียงกับแรงขายทั้งหมด จึงเกิดเป็นแท่งเทียนแบบ Piercing Pattern   หากเจอสัญญาญแบบนี้ในแนวโน้มขาลง กราฟจะบ่งบอกเราว่า กำลังจะกลับตัว  แต่หากเจอลักษณะแบบนี้ในแนวโน้มขาขึ้น ให้หาจังหวะเข้า  Buy ได้ทันที

รูปแบบแท่งเทียนที่พบบ่อย (Candlestick Pattern) ตอนที่ 1

รูปแบบแท่งเทียนที่พบบ่อย (Candlestick Pattern)

ชาวญี่ปุ่นได้พัฒนาการวิเคราะห์แบบแท่งเทียนนี้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1600 เพื่อนำมาคาดคะเนราคาพืชผลทางการเกษตร เช่น ราคาข้่าว 

แผนภูมิแท่งเทียนจะแสงราคาเปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด และราคาปิด ซึ่งคล้ายกับรูปแบบที่เราเห็นในปัจจุบัน หนังสือ Candlestick Charting ซึ่งเขียนโดย Steven Nison ได้อธิบายวิธีการวิเคราะห์ไว้ตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1989 และลงตีพิมพ์ในนิตยสาร Future ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1990 ซึ่งเขากล่าวว่าวิธีนี้เป็นเคล็ดลับของชาวเอเชียที่ถูกลืมมาเป็นเวลานาน (Long forgotten asian secret)

แผนภูมิแท่งเทียนได้ให้ภาพของซัพพลายและดีมานด์ไว้อย่างชัดเจน

สิ่งที่สำคัญคือการแสดงกราฟแท่งเทียนที่จะต้องมีราคาเปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด และราคาเปิดไว้อย่างครบถ้วน จึงจะเป็นกราฟแท่งเที่ยนได้ จะขาดแม้แต่ราคาเปิดก็ไม่ได้


ส่วนประกอบของกราฟแท่งเทียน

ส่วนประกอบของกราฟแท่งเทียน ( Candlestick) ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ในระยะสั้น

รูปแบบแผนภูมิของกราแท่งเทียน (Candle Stick Patern) แบ่งได้สามรูปแบบใหญ่ๆดังนี้
1.รูปแบบกระทิง (Bullish Pattern) เป็นสัญญาณการกลับตัวจากทิศทางขาลงเป็นทิสทางขาขึ้น  (Bottom reversal signal)
2.รูปแบบหมี (Bearish Pattern) เป็นสัญญาณการกลับตัวจากทิศทางขาขึ้นเป็นทิศทางขาลง (top reversal signal )
3. รูปแบบต่อเนื่อง (continuation pattern) เป็นรูปแบบที่แสดงถึงความต่อเนื่องของแนวโน้มเดิม)

รูปแบบกระทิง (Bullish Pattern )

รูปแบบกระทิงจะเป็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของราคาจากแนวโน้มขาลงเป็นแนวโน้มขาขึ้น โดยเฉพาะเมื่อตลาดอยู่ในสภาวะลงมาเยอะแล้ว (Oversold) มักจะพบอยู่ที่จุดต่ำสุดของช่วงนั้น และมีรูปแบบต่างๆดังต่อไปนี้

1. Long white (แท่งเทียนขาขึ้นแท่งยาวๆ)
 รูปแบบนี้จะเป็นแท่งสีขาวยาว ซึ่งจะมีช่วงระหว่างจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดห่างกันมาก แสดงถึงพละกำลังของพลังซื้อ โดยราคาเปิดจะอยู่ใกล้เคียงกับราคาต่ำสุดและราคาปิดจะอยู่ใกล้เคียงกับตำแหน่งสูงสุด  แท่งเทียนแบบ Long white จะถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Strong move Bar  และส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงที่มีข่าวเชิงบวกและเชิงลบที่ส่งผลรุนแรงกับตลาด








2.Long Lower Shadow (แท่งเทียนที่มีหางยาวๆอยู่ด้านล่าง)
รูปแบบนี้จะเป็นแท่งทีมีหางของแท่งเทียนยาวๆมาก โดยมีความยาวของหางจะมากกว่าตัวแท่งประมาณ 2/3 เท่า  แท่งเทียนในลักษณะนี้มักจะพบบ่อยตามแนวรับของราคาในช่วงนั้นๆ และมีชื่อเรียกอีกหนึ่งชื่อว่า Pin bar เทรดเดอร์บางคนเอาไว้ดูกราฟกลับตัวของกราฟ หากเห็นแท่งลักษณะแบบนี้จะเข้าเทรดในทิศทางขึ้นทันที หรืออาจจะปิดออเดอร์ Sell 








3.Hammer

รูปแบบนี้จะเป็นแท่งเทียนที่บ่งบอกลักษณะของแรงซื้อเข้ามามากก่อนตลาดจะปิด หรือเข้ามามากในช่วงเวลาที่กำหนดและกำลังจะสิ้นสุดลง แต่แรงซื้อยังไม่ได้มากกว่าแรงขายของช่วงที่เวลาทั้งหมด  แท่งเทียนลักษณะนี้มักพับในช่วงขาลงและบนในบริเวณที่เป็นแนวรับที่สำคัญ  หากเจอแท่งเทียนในลักษณะนี้ ให้มองหาโอกาสที่จะทำกำไรในแนวโน้มขาขึ้นได้ทันที

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2562

วัฎจักรของกราฟ

การวิเคราะห์ Forex ขั้นที่ 4 วัฎจักรของกราฟ
ช่วงเวลาในตลาด forex

ตลาด Australian Dollar or AUD เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 5.00 – 13.00 น.

ตลาด Japanese Yen or JPY เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 7.00 – 14.00 น.

ตลาด Euro or EUR เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 13.00 – 21.00 น.

ตลาด British Pound or GBP เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 14.00 - 22.00 น.

ตลาด Swiss Franc or CHF เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 13.00 – 21.00 น.

ตลาด US Dollar or USD เวลาเปิดตรงกับประเทศไทยเวลา 19.00 ถึงเวลาตี 3 ปิดตลาด

--------------------------------------------------------------------------------------------

ธรรมชาติของสกุลค่าเงินมักจะมีธรรมชาติในตัวมันเองให้เห็นเสมอๆ
การเกิด Cycle วงจรของรอบกราฟ มีธรรมชาติให้เห็นทุกๆ เวลา (TF)
การฝึกมองธรรมชาติของแต่ละสกุลเงินนั่นจะทำให้เข้าใจการวิ่งของค่างเงินนั่นๆและจะเข้าใจการหยุดนิ่งว่าทำไมถึงนิ่ง
การวิ่ง คือ การเกิดแนวโน้ม การนิ่งสวิงไปมาก็ คือ ไม่มีแนวโน้ม (sideway)

จุดที่น่าสนใจของการมองหาจังหวะเข้าเทรด นั่นสำคัญมากๆ
โดยจะแบบเป็นรอบที่น่าสนใจเป็น 3 รอบด้วยกันใน 1 วัน
โดยมี 2 รอบที่มักจะวิ่งแรงๆและมีแนวโน้มเหมาะกับการเทรดเสมอๆ คือ ช่วงรอบ 13.00 – 17.00 โดยเฉลี่ยมักจะวิ่งและมีแนวโน้มให้เห็นเสมอๆ
และช่วงรอบ 19.00 – 23.00 โดยเฉลี่ยมักจะวิ่งและมีแนวโน้มให้เห็นเสมอๆ
ส่วนอีก 1 รอบ ที่วิ่งก่อนตลาด Us Dollar จะปิด
รอบ 12.00 – ประมาณตี 1 (แต่การเคลื่อนไหวของราคาบางวันก็ไม่วิ่ง บางวันก็วิ่งแรง )
รอบนี้โดยทั่วไปจะไม่สำคัญเท่า 2 รอบแรก (ฉะนั่นหาเวลาเล่นแค่ 2 รอบตอนแรกต่อวันก็พอแล้ว)
เวลาที่มักจะวิ่งดูได้จากเวลาการเปิดและปิดตลาดของแต่ละสกุลเงินชนกัน และอยู่ในโซนเดียวกันมักจะมีแรงซื้อ แรงขายเข้ามามาก

สรุปแล้วเวลาที่เหมาะกับการเทรด
อยู่ระหว่าง 13.00 – 23.00 น. ของโซนตลาด EUR GBP USD สามตลาดนี้มักจะเป็นตัวการสำคัญของการวิ่งและมีแรงซื้อ ขายเข้ามามาก
โดยจังหวะการเข้าเทรด มักจะนิยมเล่นเป็นรอบๆไปคือรอบ เวลา 13.00 – 17.00 โดยประมาณจะวิ่งหนึ่งรอบแล้วถึงมีการพักตัวของกราฟ(ราคาไม่วิ่งไปไหนมาก)
และอีกหนึ่งรอบ ช่วงรอบ 19.00 – 23.00 อีกหนึ่งรอบแล้วถึงเกิดการพักตัวของกราฟ (ราคาไม่วิ่งไปไหนมาก)


ความสัมพันธ์ของแต่ละ สกุลเงิน ที่นิยมเทรด

เริ่มจาก EUR/USD เรียกกันย่อๆว่า Eu
ถ้า Eu ดีดตัวแรงมักจะดึง Ej ไปตามทิศทางเดียวกันด้วยเสมอๆ

GBP/USD เรียกย่อๆว่า Gu
ถ้า Gu ดีดตัวแรงมักจะ ดึง Gj ไปตามทิศทางเดียวกันด้วยเสมอๆ

EUR/GBP เรียกย่อๆว่า Eg
ถ้า Eg ดีดตัวแรง จะเห็น Gu วิ่งตรงข้ามกับ Eg เสมอๆ

USD/JPY เรียกย่อๆว่า Uj
ถ้า Uj ดีดตัวแรงมักจะ Ej และ Gj ไปทิศทางเดียวด้วยเสมอๆ
(โดยเฉพาะถ้า Eu Gu อยู่ในช่วงกราฟนิ่งๆ(sideway) แต่Ujมีแรงวิ่งมาก มักจะดึง Ej Gj ไปแรงๆเสมอๆ )

Eu มักจะวิ่งไปทางทิศเดียวกับ Gu เสมอๆ โดยเฉพาะถ้าสองตัวนี้วิ่งไปแนวโน้มเดียวกันจะสังเกตุเห็นว่าวันนั่นตลาดจะเล่นง่าย เพราะเกิดแนวโน้มที่ชัดเจน และจะไปดึงให้สกุลอื่นๆมีแนวโน้มที่ชัดเจนตามด้วยเสมอๆ


ธรรมชาติของการวิ่ง

มักจะเห็นการวิ่งระหว่างช่วง ท้ายชั่วโมง กับ ต้นชั่วโมงเสมอๆ
มักจะวิ่งตอนปลายนาทีระหว่าง นาทีที่45 ถึงต้นชั่วโมงช่วง 15นาทีแรก
และมักจะไปหยุด(พักตัว)วิ่งช่วงระหว่างนาทีที่ 25-40 ของในหนึ่งชั่วโมง โดยประมาณจากการศึกษาธรรมชาติ

การวิ่งของสกุลเงินแต่ละตัวนั่น โดยเฉลี่ย 1 สัปดาห์ 5 วันของการเทรด มักจะวิ่งโดยมีแนวโน้มและจับจังหวะไม่ยาก ประมาณ 2-3 วันต่อสัปดาห์แค่นั่น
ที่เหลือส่วนใหญ่จะเป็นช่วง สวิงไปๆมาๆ นิ่งๆไม่ไปไหน
ฉะนั่นในหนึ่งสัปดาห์ต้องวางแผนและมองภาพรวมให้ออกก่อนเสมอๆ

ในรอบ 1 เดือนนั่นจะมีให้เทรดทั้งหมด 4 สัปดาห์
ช่วงต้นเดือนมักจะเล่นยากเสมอๆ(กราฟไม่ค่อยไปไหน)
ส่วนช่วงกลางเดือนมักจะมีจังหวะไม่ยาก และปลายเดือนก็มักจะเล่นไม่ยากเช่นกัน

ต่อไปก็มาดูกันว่า ว่าธรรมชาติของการวิ่งระดับ
1m 5m 15m 30m 1h 4h 1d ว่าธรรมชาติการวิ่งเป็นอย่างไร


เริ่มต้นฝีกสังเกตธรรมชาติของกราฟระดับ M1

ดูธรรมชาติของจากเริ่มต้นไปถึงสุดทางวิ่งเท่าไหร่
ดูธรรมชาติของเวลาว่าการกินเวลาของช่วงเริ่มต้นไปจนสุดกินเวลาเท่าไหร่
ฝึกดูจังหวะพักตัวมักจะพักตัวที่เวลาไหน นาทีที่เท่าไหร่
ฝึกดูว่าจังหวะไหนเหมาะสมกับการเข้าไปเล่น จังหวะไหนควรรอ
ธรรมชาติของเวลาและการขึ้น การลง มักจะเกิดซ้ำๆให้เห็นบ่อยๆ
(โดยมองหลักความน่าจะเป็นควบตาม)

โดยเฉลี่ยระดับการวิ่งของกราฟที่ 1 นาทีวิ่งได้ตั้งแต่ 5 จุด - 100ต้นๆโดยประมาณต้องดูให้ออกก่อนว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นเป็นแบบใหญ่ แบบเล็ก แบบย่อย ต่อหนึ่งรอบการวิ่ง
โดยการกินเวลาจะอยู่ระดับโดยเฉลี่ยที่ สิบนาทีขึ้นไปแต่ไม่เกินสองชั่วโมงต่อหนึ่งรอบการวิ่งของแบบแนวโน้มใหญ่ เล็กและย่อย



เริ่มต้นฝึกสังเกตธรรมชาติของกราฟระดับ M5

ดูธรรมชาติของจากเริ่มต้นไปถึงสุดทางวิ่งเท่าไหร่
ดูธรรมชาติของเวลาว่าการกินเวลาของช่วงเริ่มต้นไปจนสุดกินเวลาเท่าไหร่
ฝึกดูจังหวะพักตัวมักจะพักตัวที่เวลาไหน นาทีที่เท่าไหร่
ฝึกดูว่าจังหวะไหนเหมาะสมกับการเข้าไปเล่น จังหวะไหนควรรอ
ธรรมชาติของเวลาและการขึ้น การลง มักจะเกิดซ้ำๆให้เห็นบ่อยๆ
(โดยมองหลักความน่าจะเป็นควบตาม)

โดยเฉลี่ยระดับการวิ่งของกราฟที่ 5 นาทีวิ่งได้ตั้งแต่ 20 จุด -100 ต้นๆ โดยประมาณต้องดูให้ออกก่อนว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นเป็นแบบใหญ่ แบบเล็ก แบบย่อย ต่อหนึ่งรอบการวิ่ง
โดยการกินเวลาจะอยู่ระดับโดยเฉลี่ยตั้งแต่ ครึ่งชั่วโมงขึ้นไปแต่ไม่เกิน 3-4 ชั่วโมง ต่อหนึ่งรอบการวิ่งของแบบแนวโน้มใหญ่ เล็กและย่อย



เริ่มต้นฝึกสังเกตธรรมชาติของกราฟระดับ M15

ดูธรรมชาติของจากเริ่มต้นไปถึงสุดทางวิ่งเท่าไหร่
ดูธรรมชาติของเวลาว่าการกินเวลาของช่วงเริ่มต้นไปจนสุดกินเวลาเท่าไหร่
ฝึกดูจังหวะพักตัวมักจะพักตัวที่เวลาไหน นาทีที่เท่าไหร่
ฝึกดูว่าจังหวะไหนเหมาะสมกับการเข้าไปเล่น จังหวะไหนควรรอ
ธรรมชาติของเวลาและการขึ้น การลง มักจะเกิดซ้ำๆให้เห็นบ่อยๆ
(โดยมองหลักความน่าจะเป็นควบตาม)
โดยเฉลี่ยระดับการวิ่งของกราฟที่15นาทีวิ่งได้ตั้งแต่ 30 จุดถึง100-200จุด โดยประมาณต้องดูให้ออกก่อนว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นเป็นแบบใหญ่ แบบเล็ก แบบย่อยต่อหนึ่งรอบการวิ่ง
โดยการกินเวลาจะอยู่ระดับโดยเฉลี่ยที่ ครึ่งชั่วโมงขึ้นไปแต่ไม่เกินหนึ่งวันต่อหนึ่งรอบการวิ่งของแบบแนวโน้มใหญ่ เล็กและย่อย



เริ่มต้นฝึกสังเกตธรรมชาติของกราฟระดับ M30

ดูธรรมชาติของจากเริ่มต้นไปถึงสุดทางวิ่งเท่าไหร่
ดูธรรมชาติของเวลาว่าการกินเวลาของช่วงเริ่มต้นไปจนสุดกินเวลาเท่าไหร่
ฝึกดูจังหวะพักตัวมักจะพักตัวที่เวลาไหน นาทีที่เท่าไหร่
ฝึกดูว่าจังหวะไหนเหมาะสมกับการเข้าไปเล่น จังหวะไหนควรรอ
ธรรมชาติของเวลาและการขึ้น การลง มักจะเกิดซ้ำๆให้เห็นบ่อยๆ
(โดยมองหลักความน่าจะเป็นควบตาม)

โดยเฉลี่ยระดับการวิ่งของกราฟที่ 30 นาทีวิ่งได้ตั้งแต่ 50 จุดขึ้นไปถึง 400 จุด โดยประมาณต้องดูให้ออกก่อนว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นเป็นแบบใหญ่ แบบเล็ก แบบย่อย ต่อหนึ่งรอบการวิ่ง
โดยการกินเวลาจะอยู่ระดับโดยเฉลี่ย 1 วันขึ้นไปแต่ไม่เกิน 5 วันต่อหนึ่งรอบการวิ่งของแบบแนวโน้มใหญ่ เล็กและย่อย


เริ่มต้นฝึกสังเกตธรรมชาติของกราฟระดับ H1

ดูธรรมชาติของจากเริ่มต้นไปถึงสุดทางวิ่งเท่าไหร่
ดูธรรมชาติของเวลาว่าการกินเวลาของช่วงเริ่มต้นไปจนสุดกินเวลาเท่าไหร่
ฝึกดูจังหวะพักตัวมักจะพักตัวที่เวลาไหน นาทีที่เท่าไหร่
ฝึกดูว่าจังหวะไหนเหมาะสมกับการเข้าไปเล่น จังหวะไหนควรรอ
ธรรมชาติของเวลาและการขึ้น การลง มักจะเกิดซ้ำๆให้เห็นบ่อยๆ
(โดยมองหลักความน่าจะเป็นควบตาม)

โดยเฉลี่ยระดับการวิ่งของกราฟที่ 1 ชั่วโมงวิ่งได้ตั้งแต่ 100 จุดขึ้นไปถึง 600 จุดโดยประมาณต้องดูให้ออกก่อนว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นเป็นแบบใหญ่ แบบเล็ก แบบย่อย ต่อหนึ่งรอบการวิ่ง
โดยการกินเวลาจะอยู่ระดับโดยเฉลี่ย 2 วันขึ้นไปแต่ไม่เกิน 6 วันต่อหนึ่งรอบการวิ่งของแบบแนวโน้มใหญ่ เล็กและย่อย




เริ่มต้นฝึกสังเกตธรรมชาติของกราฟระดับ H4

ดูธรรมชาติของจากเริ่มต้นไปถึงสุดทางวิ่งเท่าไหร่
ดูธรรมชาติของเวลาว่าการกินเวลาของช่วงเริ่มต้นไปจนสุดกินเวลาเท่าไหร่
ฝึกดูจังหวะพักตัวมักจะพักตัวที่เวลาไหน นาทีที่เท่าไหร่
ฝึกดูว่าจังหวะไหนเหมาะสมกับการเข้าไปเล่น จังหวะไหนควรรอ
ธรรมชาติของเวลาและการขึ้น การลง มักจะเกิดซ้ำๆให้เห็นบ่อยๆ
(โดยมองหลักความน่าจะเป็นควบตาม)

โดยเฉลี่ยระดับการวิ่งของกราฟที่ 4 ชั่วโมงวิ่งได้ตั้งแต่ 200 จุดขึ้นไปถึง 2500 จุดโดยประมาณต้องดูให้ออกก่อนว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นเป็นแบบใหญ่ แบบเล็ก แบบย่อย ต่อหนึ่งรอบการวิ่ง
โดยการกินเวลาจะอยู่ระดับโดยเฉลี่ย 5 วันขึ้นไปจนถึงระดับหนึ่งเดือนต่อหนึ่งรอบการวิ่งของแบบแนวโน้มใหญ่ เล็กและย่อย



เริ่มต้นฝึกสังเกตธรรมชาติของกราฟระดับ D1

ดูธรรมชาติของจากเริ่มต้นไปถึงสุดทางวิ่งเท่าไหร่
ดูธรรมชาติของเวลาว่าการกินเวลาของช่วงเริ่มต้นไปจนสุดกินเวลาเท่าไหร่
ฝึกดูจังหวะพักตัวมักจะพักตัวที่เวลาไหน นาทีที่เท่าไหร่
ฝึกดูว่าจังหวะไหนเหมาะสมกับการเข้าไปเล่น จังหวะไหนควรรอ
ธรรมชาติของเวลาและการขึ้น การลง มักจะเกิดซ้ำๆให้เห็นบ่อยๆ
(โดยมองหลักความน่าจะเป็นควบตาม)

โดยเฉลี่ยระดับการวิ่งของกราฟที่ 1 วันวิ่งได้ตั้งแต่ 500 จุดขึ้นไปถึง 3500 จุดโดยประมาณต้องดูให้ออกก่อนว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นเป็นแบบใหญ่ แบบเล็ก แบบย่อย ต่อหนึ่งรอบการวิ่ง
โดยการกินเวลาจะอยู่ระดับโดยเฉลี่ย 1เดือนขึ้นไปจนถึงระดับ 4 เดือนต่อหนึ่งรอบการวิ่งของแบบแนวโน้มใหญ่ เล็กและย่อย