วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2566

รูปแบบแท่งเทียนที่พบบ่อย (Candlestick Pattern)

 รูปแบบแท่งเทียนที่พบบ่อย (Candlestick Pattern)


ชาวญี่ปุ่นได้พัฒนาการวิเคราะห์แบบแท่งเทียนนี้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1600 เพื่อนำมาคาดคะเนราคาพืชผลทางการเกษตร เช่น ราคาข้่าว 

แผนภูมิแท่งเทียนจะแสงราคาเปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด และราคาปิด ซึ่งคล้ายกับรูปแบบที่เราเห็นในปัจจุบัน หนังสือ Candlestick Charting ซึ่งเขียนโดย Steven Nison ได้อธิบายวิธีการวิเคราะห์ไว้ตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1989 และลงตีพิมพ์ในนิตยสาร Future ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1990 ซึ่งเขากล่าวว่าวิธีนี้เป็นเคล็ดลับของชาวเอเชียที่ถูกลืมมาเป็นเวลานาน (Long forgotten asian secret)

แผนภูมิแท่งเทียนได้ให้ภาพของซัพพลายและดีมานด์ไว้อย่างชัดเจน

สิ่งที่สำคัญคือการแสดงกราฟแท่งเทียนที่จะต้องมีราคาเปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด และราคาเปิดไว้อย่างครบถ้วน จึงจะเป็นกราฟแท่งเที่ยนได้ จะขาดแม้แต่ราคาเปิดก็ไม่ได้


ส่วนประกอบของกราฟแท่งเทียน

ส่วนประกอบของกราฟแท่งเทียน ( Candlestick) ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ในระยะสั้น

รูปแบบแผนภูมิของกราแท่งเทียน (Candle Stick Patern) แบ่งได้สามรูปแบบใหญ่ๆดังนี้
1.รูปแบบกระทิง (Bullish Pattern) เป็นสัญญาณการกลับตัวจากทิศทางขาลงเป็นทิสทางขาขึ้น  (Bottom reversal signal)
2.รูปแบบหมี (Bearish Pattern) เป็นสัญญาณการกลับตัวจากทิศทางขาขึ้นเป็นทิศทางขาลง (top reversal signal )
3. รูปแบบต่อเนื่อง (continuation pattern) เป็นรูปแบบที่แสดงถึงความต่อเนื่องของแนวโน้มเดิม)

รูปแบบกระทิง (Bullish Pattern )

รูปแบบกระทิงจะเป็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของราคาจากแนวโน้มขาลงเป็นแนวโน้มขาขึ้น โดยเฉพาะเมื่อตลาดอยู่ในสภาวะลงมาเยอะแล้ว (Oversold) มักจะพบอยู่ที่จุดต่ำสุดของช่วงนั้น และมีรูปแบบต่างๆดังต่อไปนี้

1. Long white (แท่งเทียนขาขึ้นแท่งยาวๆ)
 รูปแบบนี้จะเป็นแท่งสีขาวยาว ซึ่งจะมีช่วงระหว่างจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดห่างกันมาก แสดงถึงพละกำลังของพลังซื้อ โดยราคาเปิดจะอยู่ใกล้เคียงกับราคาต่ำสุดและราคาปิดจะอยู่ใกล้เคียงกับตำแหน่งสูงสุด  แท่งเทียนแบบ Long white จะถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Strong move Bar  และส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงที่มีข่าวเชิงบวกและเชิงลบที่ส่งผลรุนแรงกับตลาด








2.Long Lower Shadow (แท่งเทียนที่มีหางยาวๆอยู่ด้านล่าง)
รูปแบบนี้จะเป็นแท่งทีมีหางของแท่งเทียนยาวๆมาก โดยมีความยาวของหางจะมากกว่าตัวแท่งประมาณ 2/3 เท่า  แท่งเทียนในลักษณะนี้มักจะพบบ่อยตามแนวรับของราคาในช่วงนั้นๆ และมีชื่อเรียกอีกหนึ่งชื่อว่า Pin bar เทรดเดอร์บางคนเอาไว้ดูกราฟกลับตัวของกราฟ หากเห็นแท่งลักษณะแบบนี้จะเข้าเทรดในทิศทางขึ้นทันที หรืออาจจะปิดออเดอร์ Sell 








3.Hammer

รูปแบบนี้จะเป็นแท่งเทียนที่บ่งบอกลักษณะของแรงซื้อเข้ามามากก่อนตลาดจะปิด หรือเข้ามามากในช่วงเวลาที่กำหนดและกำลังจะสิ้นสุดลง แต่แรงซื้อยังไม่ได้มากกว่าแรงขายของช่วงที่เวลาทั้งหมด  แท่งเทียนลักษณะนี้มักพับในช่วงขาลงและบนในบริเวณที่เป็นแนวรับที่สำคัญ  หากเจอแท่งเทียนในลักษณะนี้ ให้มองหาโอกาสที่จะทำกำไรในแนวโน้มขาขึ้นได้ทันที







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น